มาตรการและแผนปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทย
กรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติในประเทศฟิลิปปินส์


1. ทั่วไป

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติหลากหลาย และค่อนข้างเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพายุไต้ฝุ่น (พฤษภาคม/มิถุนายน-ธันวาคม) โคลน/ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลันจากช่วงฤดูฝน ภูเขาไฟปะทุ แผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์ tsunami

ในฟิลิปปินส์จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวของทางการฟิลิปปินส์ ในการทำหน้าที่พยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยจากภัยธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง PAGASA (Philippine Atmospheric, Geophysical, and Astronomical Services Administration)  รับผิดชอบ    ภัยพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วม และสถาบันศึกษาแผ่นดินไหวและภูเขาไฟแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Phivolcs -  The Philippine Institute of Volcanology and Seismology)

สำหรับภัยกัมมันตภาพรังสี ทางการฟิลิปปินส์จะมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Department of Science and Technology - DOST) และสถาบันวิจัยนิวเคลียร์แห่งชาติ (Philippine Nuclear Research Institute – PNRI)

2. สภาพทางภูมิศาสตร์

1) ฟิลิปปินส์เป็นประเทศหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ไม่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศอื่นทางบก การเคลื่อนย้ายอพยพคนไทยไปยังประเทศที่สามไม่สามารถกระทำได้ เส้นทางคมนาคมหลักระหว่างประเทศคือทางอากาศ ดังนั้น หากมีความจำเป็นจึงควรอพยพกลับประเทศไทยโดยตรง หรือในกรณีที่ไม่เดินทางกลับประเทศไทย อาจพิจารณาใช้เส้นทางขึ้นทางเหนือ โดยเดินทางไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง (ไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา)

2) เมืองสำคัญที่มีคนไทยพำนักอาศัยอยู่มาก ได้แก่ กรุงมะนิลาและเมืองเซบู และมีนักศึกษาไทย ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งในเขตต่างจังหวัด การเดินทางจากเขตต่างจังหวัดมายังกรุงมะนิลากระทำได้ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ

3) สนามบินที่สามารถเลือกใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่

3.1) Ninoy Aquino International Airport (NAIA) ในกรุงมะนิลา

3.2) Diosdado Macapagal International Airport (DMIA) หรือ Clarke Airport ที่เมือง Angeles จังหวัด Pampanga ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา ประมาณ  80 กิโลเมตร

3.3) Cebu International Airport ในเมืองเซบู ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงมะนิลา

4) เที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงมะนิลามีหลายสายการบิน ได้แก่ Thai Airways, Philippine Airline, Cebu Pacific, Kuwait Airline โดยมีเที่ยวบินทุกวัน ระยะเวลาเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงมะนิลาทางอากาศใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง (Cebu Pacific ให้บริการการบินไปประเทศไทยทั้งจากกรุงมะนิลา และ Clark)

5) ท่าเรือที่กรุงมะนิลาและกรุงเซบู อยู่ในบริเวณตัวเมือง มีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่ติดต่อได้โดยสะดวก การเดินทางทางเรือระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงมะนิลาใช้เวลาประมาณ 4 วัน

6) การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วคือโทรศัพท์มือถือ (Talk &Text) ซึ่งมีใช้กันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากที่สุด โทรสารใช้ติดต่อได้เฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ 

3. หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือคนไทย (หน่วยงานหลักทีมประเทศไทย)

4. ข้อมูลคนไทยในฟิลิปปินส์ (ตัวเลขโดยประมาณ)
คนไทยในฟิลิปปินส์แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

  1. ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูตฯ และครอบครัว
  2. พนักงานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และครอบครัว
  3. นักธุรกิจไทยและครอบครัวที่ตั้งถิ่นฐานในฟิลิปปินส์
  4. พนักงานคนไทยที่มาปฏิบัติงานในฟิลิปปินส์
  5. คนไทยที่สมรสกับชาวฟิลิปปินส์
  6. คนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติที่พำนักในฟิลิปปินส์
  7. นักศึกษาไทยในกรุงมะนิลาและเขตต่างจังหวัดอื่น
  8. กลุ่มคนไทยในเมืองเซบู
  9. กลุ่มคนไทยในเมืองอื่น ๆ

รวมประมาณ   650 คน

หากแบ่งตามพื้นที่พำนักอาศัย ประมาณการได้ดังนี้

  1. กรุงมะนิลาและจังหวัดใกล้เคียง     350    คน
  2. เมืองเซบู                              200    คน
  3. เขตต่างจังหวัดอื่น ๆ                 100    คน

รวมประมาณ    650    คน

หมายเหตุ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ชุมชนไทยในเซบูขยายตัวใหญ่มากขึ้น เนื่องจากมีนักศึกษาไทย เดินทางมาศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ที่จังหวัดเซบูมากขึ้นตามลำดับ

5. การเตรียมรับสถานการณ์
ระดับที่ 1 การเตรียมพร้อมในช่วงเหตุการณ์ปกติ

มาตรการดำเนินงาน
1) จัดประชุมหารือภายในหน่วยงานและระหว่างหัวหน้าสำนักงานเพื่อประเมิน สถานการณ์และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเป็นระยะ ๆ
2) แบ่งมอบหมายภาระหน้าที่และซักซ้อมการปฏิบัติสำหรับภาวการณ์ฉุกเฉิน
3) จัดเตรียมแผนงานรักษาความปลอดภัยของเอกสารและทรัพย์สิน
4) จัดเตรียมแผนการใช้จ่ายสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน  
5) จัดเตรียมรายชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขติดต่อของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และหน่วยงานไทยในฟิลิปปินส์ที่เกี่ยวข้อง
6) จัดเตรียมยานพาหนะ และเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็น ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ดีอยู่เสมอ
7) จัดเตรียมรายชื่อคนไทยในฟิลิปปินส์ และจัดวางเครือข่ายการติดต่อกับกลุ่มคนไทย
8) กำหนดช่องทางติดต่อประสานกับหน่วยงานท้องถิ่น ที่จำเป็นต้องขอรับการสนับสนุน อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักตรวจคนเข้าเมือง กองทัพอากาศ กองทัพเรือ
9) กำหนดช่องทางติดต่อกับหน่วยงานที่มีคนไทยทำงานหรือศึกษาอยู่ อาทิ ฝ่ายต่างประเทศของสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานเตรียมพร้อมขององค์กรสำคัญ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับคนไทยหรือในการอพยพคนไทย คู่สมรสชาวต่างชาติของคนไทย อาจประสงค์ขอรับความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของตน จากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศของตนเอง
10) ประสานแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ให้หน่วยงานต้นสังกัดในประเทศไทยทราบ เพื่อความสะดวกในการขอรับการสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง

ระดับที่ 2 การเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุที่ไม่ปกติ
มาตรการดำเนินงาน
1) ให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิดและรายงาน/ประสานงานให้บุคคลและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทราบ ทั้งในส่วนสถานเอกอัครราชทูตและทางกรุงเทพฯ
2) ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบข่าวและแสวงหาข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการแนะนำคนไทย
3) ให้ข้อแนะนำ

4) เติมน้ำมันรถยนต์เต็มถังทุกคันเมื่อหมดภารกิจในแต่ละวัน และอาจสำรองน้ำมันรถยนต์ไว้ที่สำนักงาน
5) กำหนดจุดแจ้งกระจายข่าวในหมู่คนไทยและซักซ้อมระบบการติดต่อ

ระดับที่ 3 กรณีเกิดความไม่สงบและสถานการณ์เริ่มขยายตัว
มาตรการดำเนินงาน
1) จัดตั้ง Call Center เพื่อให้ข้อมูลและตอบข้อซักถาม/ให้คำแนะนำแก่คนไทยตลอด 24 ชั่วโมง โดยกำหนดศูนย์หลัก ณ ที่ทำการ สอท. และ Call Center สำรอง อาทิ ณ ทำเนียบ ออท. หรือบ้านพักของข้าราชการ เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงาน
2) ออกข่าวแจ้งเตือนคนไทยในฟิลิปปินส์ให้เตรียมพร้อมที่จำเป็น

 

3) แจ้งเตือนคนไทย (ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ) ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังฟิลิปปินส์ หากไม่มีความจำเป็น
4) จัดระบบรับและกระจายข่าวระหว่างคนไทย และกำหนดจุดนัดพบเวลาฉุกเฉิน
5) ประชุมหารือเกี่ยวกับพัฒนาการของเหตุการณ์ และเตรียมความพร้อมระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยสม่ำเสมอ รวมทั้งจัดเวรติดตามสถานการณ์โดยข้าราชการและลูกจ้าง
6) ซักซ้อมแผนปฏิบัติการทั้งระหว่างข้าราชการ และกับลูกจ้างเพื่อทบทวนความพร้อมทุกด้าน
7) ซักซ้อมระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างข้าราชการ ให้สามารถติดต่อกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง อาทิ เปิดโทรศัพท์ไว้ตลอดเวลา จัดหาแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือสำรอง หากใช้ระบบ prepaid ควรเติมเงินค่าโทรศัพท์ให้เพียงพอและจัดซื้อบัตรสำรองไว้ให้เพียงพอ
8) จัดหาเครื่องมือสื่อสารสำรอง จำนวนหนึ่งเพื่อไว้ใช้ในกรณีที่ระบบโทรศัพท์ถูกตัด และเพื่อใช้ติดต่อในระหว่างการเคลื่อนย้ายในระยะทางใกล้ ๆ
9) ประสานเตรียมเรื่องยานพาหนะอพยพคนไทยในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ โดยติดต่อจัดหารถยนต์ให้เพียงพอ ทั้งรถยนต์ของแต่ละสำนักงานและการยืมรถยนต์ของบริษัทไทย และโดยการติดต่อเช่าเหมาเพิ่มเติม
10) ประสานเบื้องต้นกับกรุงเทพฯ เรื่องเตรียมการอพยพคนไทยหากสถานการณ์ตกอยู่ในภาวะคับขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อขอความร่วมมือเบื้องต้นกับการบินไทย และสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารทั้งทหารอากาศและทหารเรือ เพื่อเตรียมเครื่องบินและเรือรองรับและเตรียมพร้อมต่อการอพยพ และการส่งกำลังบำรุงและสิ่งของ/ปัจจัยยังชีพพื้นฐาน

ระดับที่ 4    เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
มาตรการดำเนินงาน
1) ออกข่าวแจ้งเตือนคนไทยในฟิลิปปินส์ให้ดำเนินการที่จำเป็น อาทิ

2) จัดหาซื้อเครื่องใช้/ของใช้ เครื่องนอน และอาหารที่จำเป็นต่อการยังชีพ ให้เพียงพอกับข้าราชการ และคนไทยที่อาจรับมาพำนักอยู่ ณ สอท. หรือทำเนียบ ออท.
3) ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ ให้จัดส่งเงิน และสิ่งของจำเป็นมาช่วยเหลือ อีกทั้งให้จัดเตรียมงบประมาณฉุกเฉิน เพื่อให้การสนับสนุนเมื่อได้รับการร้องขอ
4) ประชุมหารือสถานการณ์ถี่ขึ้น และจัดเวรเจ้าหน้าที่เพื่อติดตามข่าวสารและสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
5) จัดลำดับความเร่งด่วนในการจัดการกับเอกสารและทรัพย์สินของทางราชการ   
6) สำรองน้ำมันและเติมน้ำมันยานพาหนะให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้เดินทาง และเลือกเส้นทางหลัก และเส้นทางสำรอง ที่จะใช้เดินทางไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น สนามบิน
7) เตรียมสถานที่ปฏิบัติงานสำรองและระบบสื่อสารสำรอง (โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร) ไว้ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการ สอท. ได้
8) ให้เจ้าหน้าที่เตรียมแฟ้มข้อมูลการติดต่อที่จำเป็นติดตัวไว้ เพื่อสามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะเพื่อความคล่องตัวในกรณีที่ต้องย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน
9) หากสถานการณ์คับขัน แจ้งให้คนไทยไปพักรวมกัน ณ สถานที่ที่มีความปลอดภัย หรือรวบรวมคนไทยมาพักรวมกัน ที่สถานเอกอัครราชทูตหรือทำเนียบเอกอัครราชทูต โดยเป็นการพำนักชั่วคราวในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อรอสถานการณ์ให้คลี่คลายหรือเพื่อการอพยพเคลื่อนย้ายต่อไป

6. การขอความร่วมมือในภารกิจให้ความช่วยเหลือจากสำนักงานต่างๆ

ภารกิจ

หน่วยงาน/องค์กร จนท.ท้องถิ่น ความรับผิดชอบ
  • การประสานงานภาพรวม
  • สอท./สกม.เซบู/ทีมประเทศไทย

  • แจ้งข่าวคนไทยเพื่อเตรียมการอพยพในกรณีฉุกเฉิน
  • ประสานกับทางการฟิลิปปินส์
  • การจัดหาที่พักพิงชั่วคราวสำหรับคนไทยในพื้นที่ต่างๆ ในฟป. (นอกกรุงมะนิลา)
  • สอท./ภาคเอกชนไทย (SCG/CP) / สกม.เซบู

  • โรงงาน Mariwasa ที่เมือง St. Tomas                        จ.Batangas (ตอนใต้ของกรุงมะนิลา)
  • โรงงาน CP ที่เมือง Bacolod เกาะ Negros Occidental
  • สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เมืองเซบู เกาะ Cebu
  • การเตรียมตัวอพยพชุมชนไทย
  • รวมพล ณ สถานที่ที่นัดหมาย / ติดตามข่าวสารและสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

  • เตรียมหนังสือเดินทางไทย และเอกสารสำคัญประจำตัวอื่นๆ ที่จำเป็น (รูปถ่าย บัตรปชช.ไทย ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญการสมรส สูติบัตร) รวมทั้งเงินสดติดตัว

7. Standard Alert Levels (Travel

ดาวน์โหลดเอกสาร

มาตรการ และแผนปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทยกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติในประเทศฟิลิปปินส์