Menu

ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการลงทุนด้านพลังงานในฟิลิปปินส์ที่สำคัญในปี 2552? ประมวลได้ ดังนี้

1. โครงการลงทุนด้านพลังงานชีวภาพของฟิลิปปินส์

1.1 นับตั้งแต่การประกาศใช้ พระราชบัญญัติพลังงานชีวภาพ (Biofuel Act) เมื่อ ธันวาคม 2550 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อนุมัติโครงการเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพจำนวน 49 โครงการ ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับเอธานอล 19 โครงการ โครงการเกี่ยวกับไบโอดีเซล 28 โครงการ? โครงการเกี่ยวกับไบโอดีเซลล์และเอธานอล 1 โครงการ และล่าสุดเมื่อ กันยายน 2552 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อนุมัติโครงการสร้างโรงกลั่นเอธานอลและโรงไฟฟ้าพลังงานร่วม โดย บริษัท San Carlos Bio-Energy Inc. (SCBI)? ในเมือง San Carlos จ. Negros Occidental โดยมูลค่าการลงทุนรวม 83 พันล้านเปโซ

1.2 พระราชบัญญัติพลังงานชีวภาพของฟิลิปปินส์ ในปี 2550 ได้กำหนดสัดส่วนปริมาณการผสมไบโอดีเซล/ ไบโอเอธานอล ในน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายในฟป. ไว้ในลักษณะอัตราก้าวหน้า โดยในปัจจุบัน รัฐบาลฟิลิปปินส์กำหนดให้มีส่วนผสมของไบโอดีเซล ร้อยละ 2 และไบโอเอธานอล ร้อยละ 10 ซึ่งทำให้ ฟป. มีความต้องการไบโอเอธานอลจำนวน 268 ล้านลิตรในปี 2552 และในปี 2554 เพิ่มเป็น 594 ล้านลิตร และปี 2559 เพิ่มเป็น 721 ล้านลิตร

1.3 ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์มีโรงงานผลิตเอธานอลจำนวน 2 โรงงาน ได้แก่ SCBI และ Leyte Agri Corp. และมีกำลังการผลิตต่อปีรวม 39 ล้านลิตร

1.4 ปัจจุบัน Philippines Agricultural Development and Commercial Corp. (PADDC)? บริษัทของรัฐบาลฟิลิปปินส์ทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานชีวภาพ มีนโยบายส่งเสริมการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน อาทิ อ้อย ข้าวฟ่างหญ้า และมันสำปะหลัง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการผลิต

1.5 ในการเยือนสหราชอาณาจักรของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เมื่อ 17 ? 19 กันยายน 2552 ภาคเอกชนสหราชอาณาจักร อาทิ บริษัท Bronzeoak ได้แสดงความสนใจจะลงทุนเพิ่มเติมในโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอธานอล เมือง Talac มูลค่า 6 พันล้านเปโซ เมื่อปี 2547 บริษัท Bronzeoak? ได้ลงทุนในโครงการด้านพลังงานชีวภาพในเมือง San Carlos จ. Negros Occidental ซึ่งนับเป็นโรงงานกลั่นเอธานอลโดยน้ำอ้อยแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. กระทรวงพลังงานฟิลิปปินส์ให้สัมปทานโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

2.1 เมื่อ 14 กันยายน 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานฟิลิปปินส์ได้ลงนามในสัมปทานแก่ บริษัท Energy Development Corp บริษัท Nothern Luzon UPC Asia Corp? บริษัท PetroEnergy Resources Corp. และ บริษัท Energy Logics Philippines Inc. สำหรับโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานจากลม และ บริษัท Oriental Energy and Power Generation Corps. สำหรับโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ โดยโครงการทั้งหมด 6 โครงการ มีมูลค่ารวม 983.5 ล้าน USD

2.2 กระทรวงพลังงานฟิลิปปินส์ยังได้ให้ certificate of registration แก่ บริษัท? Mariwasa Siam Ceramic Inc. (บริษัทในเครือ SCG ลงทุนในการผลิตกระเบื้อง) ในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลสำหรับใช้ในโรงงาน ในเมือง Sto. Tomas และ Batangas ด้วย? อนึ่ง คาดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานฟิลิปปินส์จะสามารถลงนามในโครงการเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้อีก 10 โครงการ ภายในปี 2552

3. ExxonMobil จะเริ่มขุดสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในทะเลซูลู

บริษัท ExxonMobil Exploration and Production Philippines ประกาศจะเริ่มดำเนินโครงการขุดสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในพื้นที่ SC 56 ในทะเลซูลู ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คาดว่าเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่า 100 ล้าน USD ดำเนินการขุดเจาะกลางทะเลลึก 1,800 เมตร และยาว 5,000 เมตร บริษัท ExxonMobil คาดว่าจะสามารถเริ่มการขุดเจาะได้ภายในปลายกันยายน? ต้นตุลาคม 2552 ทั้งนี้ โครงการขุดสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในพื้นที่ SC 56 เป็นการร่วมลงทุนของ บริษัท ExxonMobil และ บริษัท Mitra Energy ของมาเลเซีย

4. Callandra ของสิงคโปร์ จะลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติอัดแน่นในฟป.

4.1 บริษัท Callandra Liqurfield CNG Fuel Corp. ของสิงคโปร์ ประกาศจะลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติอัดแน่น มูลค่า 160 ล้าน USD ในฟป. โดยเป็นการระดมทุนจากภายในฟิลิปปินส์ 70% และการใช้เงินทุนจากต่างประเทศ. 30% โครงการดังกล่าวประกอบด้วยการสร้างโรงงาน processing plant 1 แห่ง และสถานีบริการ 6 แห่ง ในกรุงมะนิลา โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2553 สามารถให้บริการรถประจำทางได้ 2,000 คัน ช่วงที่ 2 ในปี 2555 บริการได้ 3,500 คัน และช่วงที่สาม ในปี 2557 บริการได้ 5,000 คัน

4.2 บริษัท Callandra ได้ให้ความสนใจในการดำเนินโครงการนี้มาสามปีแล้วแต่ประสบปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวนและขาดแคลนอุปทานก๊าซธรรมชาติในการดำเนินโครงการ จนกระทั่งเมื่อ พฤศจิกายน 2552? Malampaya Consortium (การร่วมทุนระหว่าง บ. Shell Philippines Exploration BV, บ. Chevron และ Philippine National Oil Company Exploration Corp (PNOC-EC) ซึ่งปัจจุบัน รบ.ฟป. ได้แปรรูปสัมปทาน PNOC-EC ให้เครือ San Miguel) ได้เปิดประมูลขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Malampaya ในฟิลิปปินส์ ซึ่ง บ. Calandra ได้เข้าร่วมการประมูลด้วย (แหล่งก๊าซธรรมชาติ Malampaya ตั้งอยู่ในทะเลจีนใต้ ห่างจากหมู่เกาะปาละวันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 80 กม.)

4.3 ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์มีสถานีบริการก๊าซธรรมชาติแห่งเดียว ดำเนินการโดย บ. Shell Philippines และตั้งอยู่ที่ จ.ลากูนา

5. Chevron สนใจประมูลโครงการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า

5.1 เมื่อต้นกันยายน 52 บ. Chevron ฟป. สนใจจะประมูลโครงการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้ากำลังการผลิต 300 เมกะวัตต์ ในเมือง Batangas (ทางตอนใต้ของกรุงมะนิลา) โดยใช้พลังงานส่วนเกินจากก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแหล่ง Malampaya

5.2 นอกจาก Chevron บริษัทอื่นที่สนใจเข้าร่วมการประมูลในโครงการดังกล่าว ได้แก่ PNOC-ECและ First Gen Corp. ของฟิลิปปินส์ และ Korea Electric Power Corp. (KEPCO) ของเกาหลีใต้

5.3 มีการประเมินว่า ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Malampaya ของฟิลิปปินส์ จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2,700 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน มีโครงการที่ได้รับการประมูลให้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งดังกล่าวแล้ว จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
(1) โรงงานไฟฟ้าที่เมือง Sta Rita (กำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์)
(2) โรงงานไฟฟ้าที่เมือง San Lorenzo (กำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์) โดยทั้งสองโครงการเป็นการลงทุนโดย First Gen Corp. และ
(3) โรงงานไฟฟ้าที่ Ilijan (กำลังการผลิต 1,271 เมกะวัตต์) ของ? KEPCO

5.4? Chevron เป็น หนึ่งในบริษัทร่วมทุนในโครงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Malampaya โดยโครงการดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี 2534 นอกจากนี้ Chevron ยังเป็นเจ้าของ import terminal น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวม 24 แห่ง รวมทั้ง import terminal ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ?????????? กรุงมะนิลา มีสถานีบริการน้ำมัน 862 แห่ง และตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น 863 แห่งในฟป.