Menu

แผนฉุกเฉินเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ของฟิลิปปินส์? ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้

1 การป้องกัน

1.1 เน้นการตรวจสอบอุณหภูมิของผู้โดยสารที่ท่าอากาศยาน/ท่าเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศที่มีรายงานการแพร่ระบาดของเชื้อ

1.2 ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ จะขอความร่วมมือผู้โดยสารที่เดินทางเข้าฟิลิปปินส์ กรอกรายละเอียดในแบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติการเดินทางและการสัมผัสผู้ป่วยและรายละเอียดการติดต่อ และส่งให้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ก่อนเดินผ่านเครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิ และผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง

2 การวินิจฉัยและการรักษาทันท่วงที

2.1 กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ได้ออกแนวปฏิบัติในการวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้โรงพยาบาลในฟิลิปปินส์ยึดปฏิบัติ โดยในกรณีที่โรงพยาบาลพบผู้ป่วยที่มีอาการต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะต้องแจ้งสถานพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ กำหนดให้เป็น Referral Center? เพื่อทำการส่งตัวอย่างเชื้อไปตรวจที่ Research Institute for Tropical Medicine (RITM) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ กำหนดให้เป็นสถาบันเดียวที่มีศักยภาพในการตรวจสอบตัวอย่างเชื้อและให้การรักษาผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009? อนึ่ง ปัจจุบันมี Referral Center รวม 5 แห่ง (3 แห่งในเกาะลูซอน, 1 แห่ง ในหมู่เกาะวิซายาส์ และ 1 แห่ง ในหมู่เกาะมินดาเนา)

2.2 กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์มีแผนจะพัฒนาศักยภาพของ Referral Center ทุกแห่งให้สามารถดำเนินงานได้เช่นเดียวกับ RITM เพื่อให้บริการปชช.ได้อย่างทันท่วงทีและครอบคลุม ทั่วถึงทั้งประเทศ

2.3 กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ได้แบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามอาการเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) Case under observations (2) Probable (3) Confirmed ตามแนวปฏิบัติของ WHO

2.4 เมื่อ 10 มิถุนายน 52 รัฐมนตรีสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ได้ออกประกาศแนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลในฟิลิปปินส์ เกี่ยวกับการให้บริการผู้ป่วยที่ติดเชื้อฯ และต้องสงสัยว่าติดเชื้อ

2.5? Employees? Compensation Commission (ECC) ภายใต้ กระทรวงแรงงานและการจ้างงานฟิลิปปินส์ได้ประกาศให้การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 เข้าข่ายไร้สมรรถภาพชั่วคราว (Temporary total disability) ซึ่งส่งผลให้คนงานภาครัฐและเอกชนสามารถขอเงินชดเชยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (หน่วยงานภาครัฐ ? Government Service Insurance System และหน่วยงานภาคเอกชน ? Social Security System)ได้ โดย ECC หวังว่าการใช้มาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้คนงานที่มีอาการป่วยเข้าข่ายการติดเชื้อฯ มาตรวจร่างกาย ณ สถานพยาบาล มากกว่าหาทางรักษาด้วยตนเอง

3 การบริหารจัดการ

3.1 เมื่อปลายเดือนเมษายน 52 รัฐมนตรีสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ได้ออกคำสั่งแต่งตั้ง Emergency Management Task Force for the Pandemic Response to Influenza? A (H1N1) ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น โดยเน้นการกระจายอำนาจการตัดสินใจเพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที

3.2 เมื่อ 4 พฤษภาคม 52 รัฐมนตรีสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ในฐานะประธาน National Disaster Coordinating Council response to the influenza A H1N1 treat ได้ออกคำสั่งให้หนังสือเวียน บันทึก และประกาศแนะนำ เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ มีผลบังคับใช้เป็นคำสั่ง

3.3 เมื่อ 7 กรกฎาคม 52 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ได้ออกคำสั่งให้หน่วยงานท้องถิ่นในระดับต่างๆ จัดทำรายงานเกี่ยวกับการเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อฯ ทั้งในด้านการบังคับบัญชา การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาล และระบบสื่อสาร และจัดส่งให้กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์

4. การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน

สธ.ฟป. ได้หารือร่วมกับกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง? อาทิ คณะทูตานุทูต ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ.ประจำฟิลิปปินส์ สถานศึกษา องค์กรด้านการคมนาคม ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม และผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อสร้างเครือข่ายในการกระจายและตรวจสอบข้อมูล ทั้งนี้ สธ.ฟป. ได้จัดบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและจัดการการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้แก่คณะทูตานุทูต เมื่อ 21 พฤษภาคม 52

5. การให้ความรู้แก่ปชช.

5.1 สธ.ฟป. ได้ออกประกาศสถานการณ์ล่าสุดประจำวันผ่านทางเวบไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ www.doh.gov.ph และจัดทำเอกสารข้อแนะนำที่จำเป็นต่อ การเฝ้าระวังโรคโดยกระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ได้แปลเอกสารการเฝ้าระวังโรคฯ เป็นภาษาญี่ปุ่น เกาหลี จีน และ ภาษาท้องถิ่นประจำจังหวัดต่างๆ ของฟิลิปปินส์เพื่อให้ความรู้ในการเฝ้าระวังแก่นักท่องเที่ยวและประชาชน และสร้างความตระหนักถึงอันตรายของโรค? หากเกิดการแพร่ระบาดในระดับท้องถิ่น
5.2 สธ.ฟป.ได้ออกประกาศข้อแนะนำในการรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สำหรับกรณีการชุมนุมในที่สาธารณะ โดยได้เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ผู้เข้าร่วมการชุมนุม (2) ผู้จัดการชุมนุม และ (3) เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดูแลการชุมนุม

5.3 เมื่อ 23 มิถุนายน 2552 บริษัท Smart Telecommunication (ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเตอร์เน็ทรายใหญ่ของฟิลิปปินส์) ได้เปิด Hotline หมายเลข 155 เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ใช้ประโยชน์ในการตอบข้อซักถามเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (วันจันทร์ ? ศุกร์ เวลา 08.00 น. ? 17.00 น.) และสนับสนุนการส่งข้อความผ่านเครือข่ายของ Smart เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ? โดยไม่คิดค่าบริการ

สถานะการติดเชื้อล่าสุด

ล่าสุดเมื่อ 16 ก.ย. 52 จากการประสานงานเป็นการภายในกับสธ.ฟป. มีกรณียืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในฟป. จำนวน 4,987 ราย ช่วงอายุระหว่าง 1 วัน ? 85 ปีโดยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้วจำนวน 4,859 คน (97%) และเสียชีวิต 30 คน