Menu

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

3.1 นโยบายของรัฐและกฎระเบียบด้านการลงทุนในฟิลิปปินส์

(ที่มา: Investment Information 2008, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)

3.1.1 การถือหุ้นของต่างชาติ

กฎหมายฟิลิปปินส์อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ 100% ในเกือบทุกกิจการ ยกเว้นที่ระบุใน Foreign Investments Negative List (FINL)


กิจกรรมที่มีเงื่อนไขในการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติ (Foreign Investments Negative List -FINL)

List A : กิจการที่มีข้อจำกัดการลงทุนของต่างชาติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

กิจการที่ห้ามต่างชาติลงทุน
  1. Mass media except recording
  2. Practice of all professions
    1. a) Engineering
    2. b) Medicine and allied professions
    3. c) Accountancy
    4. d) Architecture
    5. e) Criminology
    6. f) Chemistry
    7. g) Customs brokerage
    8. h) Environmental planning
    9. i) Forestry
    10. j) Geology
    11. k) Interior design
    12. l) Landscape architecture
    13. m) Law
    14. n) Librarianship
    15. o) Marine desk officers
    16. p) Marine engine officers
    17. q) Master plumbing
    18. r) Sugar technology
    19. s) Social work
    20. t) Teaching
    21. u) Agriculture
    22. v) Fisheries
  3. Retail trade enterprises with paid-up capital of less than US$ 2,500,000
  4. Cooperatives
  5. Private security agencies
  6. Small-scale mining
  7. Utilization of marine resources in archipelagic waters, territorial sea, and exclusive economic zone as well as small-scale utilization of natural resources in rivers, lakes, bays, and lagoons
  8. Ownership, operation, and management of cockpits
  9. Manufacture, repair, stockpiling and/or distribution of nuclear weapons
  10. Manufacture, repair, stockpiling and/or distribution of biological, chemical and radiological weapons, and anti-personnel mines
  11. Manufacture of firecrackers and other pyrotechnic devices
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 20%
  1. Private radio communications network
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 25%
  1. Private recruitment, whether for local or overseas employment
  2. Contracts for the construction and repair of locally-funded public works except :
    • a) Infrastructure/development projects covered in RA No.7718
    • b) Projects which are foreign-funded or-assisted and required to undergo international competitive bidding
  3. Contracts for the construction of defense-related structures
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 30%
  1. Advertising
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 40%
  1. Exploration, development, and utilization of natural resources
  2. Ownership of private lands
  3. Operation and management of public utilities
  4. Ownership/establishment and administration of educational institutions
  5. Culture, production, milling, processing, trading except retailing, of rice and corn and acquiring, by barter, purchase or otherwise, rice and corn and the by-products thereof
  6. Contracts for the supply of materials, goods and commodities to a government-owned or controlled corporation, company, agency, or municipal corporation
  7. Project proponent and facility operator of a BOT project requiring a public utilities franchise
  8. Operation of deep sea commercial fishing vessels
  9. Adjustment companies
  10. Ownership of condominium units where the common areas in the condominium project are co-owned by the owners of the separate units or owned by a corporation
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 60%
  1. Financing companies regulated by the Securities and Exchange Commission (SEC)
  2. Investment houses regulated by the SEC

List B : กิจการที่มีข้อจำกัดการลงทุนของต่างชาติด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง การป้องกันประเทศ สุขภาพอนามัย วัฒนธรรม หรือเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 40%
  1. Manufacture, repair, storage, and/or distribution of products and/or ingredients requiring Philippine National Police (PNP) clearance
  2. Manufacture, repair, storage, and/or distribution of products requiring Department of National Defense clearance
  3. Manufacture and distribution of dangerous drugs
  4. Sauna and steam bathhouse, massage clinics, and other like activities regulated by law because of risks posed to public health and morals
  5. All forms of gambling, e.g., race track operation
  6. Domestic market enterprises with paid-in equity capital of less than the equivalent of US$ 200,000
  7. Domestic market enterprises which involve advanced technology or employ at least 50 direct employees with paid-in-equity capital of less than the equivalent of US$ 100,000


3.1.2 กิจการที่รัฐบาลสนับสนุน

แต่ละปี รัฐบาลจะจัดทำแผนลำดับความสำคัญการลงทุน (Investment Priorities Plan: IPP) เผยแพร่ให้นักลงทุนทราบทางเว็บไซต์ของ BOI (http://www.boi.gov.ph/) และฉบับล่าสุดปี 2551 ประกาศเมื่อ 9 พ.ค. 51 ระบุสาขาการลงทุนที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุด 6 สาขา ได้แก่ Agriculture/Agribusiness and Fishery, Infrastructure, Tourism, Research and Development, Engineered Products และ Strategic Activities

อนึ่ง Strategic Activities คือ โครงการลงทุนขั้นต่ำ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และตรงตามเงื่อนไข อย่างน้อย 1 เงื่อนไขในสองเงื่อนไขต่อไปนี้ (1) มีการว่าจ้างงานอย่างต่ำ 1,000 อัตรา หรือ (2) มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งได้รับการยอมรับในนานาประเทศ

สามารถดูรายละเอียดของกิจการที่รัฐบาลสนับสนุนเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซ์บีโอไอ ฟิลิปปินส์ http://www.boi.gov.ph/ หัวข้อ Doing Business > Opportunities > 2008 Investment Priorities Plan

3.1.3 หน่วยงานส่งเสริมการลงทุน

หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของฟิลิปปินส์ มี 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่

  • Board of Investments (BOI) ในสังกัดกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Department of Trade and Industry: DTI)
  • Philippine Economic Zone Authority (PEZA) เป็นรัฐวิสาหกิจ (government-owned corporation) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการที่ตั้งอยู่ใน ?เขตส่งเสริมการลงทุน? หรือ ?เขตเศรษฐกิจพิเศษ? ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามกฎหมาย Special Economic Zone Act of 1995

3.1.4 เขตส่งเสริมการลงทุน

เขตส่งเสริมการลงทุนของฟิลิปปินส์ แบ่งได้ 5 ประเภท คือ

  1. Industrial Estate (IEs) คือ นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับอุตสาหกรรม อาทิ ถนน ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
  2. Export Processing Zone (EPZs) เป็นนิคมอุตสาหกรรมพิเศษ ซึ่งบริษัทที่อยู่ในนิคมนี้ส่วนใหญ่ ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก จะได้สิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ และชิ้นส่วน
  3. Free Trade Zone (FTZs) เป็นเขตที่อยู่ใกล้ทางเข้าประเทศ เช่น ท่าเรือ และท่าอากาศยาน สินค้าที่นำเข้ามาในเขตนี้เพื่อรอการขนถ่าย เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ จัดเรียงใหม่ หรืออื่นๆ ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ยกเว้นเมื่อนำออกนอกเขตนี้
  4. Tourism Ecozones เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ต้องการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม เช่น ศูนย์กีฬา แหล่งบันเทิง ที่พักอาศัย อาหารแสดงสินค้าและวัฒนธรรม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านค้าพาณิชย์ แล้วอื่นๆ เป็นต้น
  5. IT Parks & IT Builidng เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการ ซึ่งประกอบด้วยอาคาร IT และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ลงทุนด้าน IT ดังรายละเอียดตามแผนผัง

3.1.5 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของฟิลิปปินส์แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น Metro Manila (ซึ่งมีอัตราค่าจ้างสูงสุด) ปี 2551 ประมาณ 362 เปโซต่อวัน Cebu City 312 เปโซต่อวัน และ General Santos City 263 เปโซต่อวัน เป็นต้น ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวรวมค่าสวัสดิการสังคมที่นายจ้างต้องจ่ายแล้ว

3.1.6 ขั้นตอนการขออนุมัติและจัดตั้งบริษัท

  • ประเภทธุรกิจจดทะเบียน
ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ วิธีการจดทะเบียน
องค์กรภายใต้กฎหมายฟิลิปปินส์ 1. กิจการที่เป็นเจ้าของคนเดียว ขอจองชื่อกิจการและจดทะเบียนที่ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Department of Trade and Industry -National Capital Region)
2. ห้างหุ้นส่วน (partnerships)
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (general partnership)
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด (limited partnership)
3,000เปโซ -จดทะเบียนกับ Securities and Exchange Commission (SEC)
-ไม่ต้องจดทะเบียนกับ กระทรวงการค้าฯ
3. บริษัทจำกัด (Corporations) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้น 5-15 คน หากมีชาวต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 40 จะจัดเป็นบริษัทต่างชาติ หากชาวต่างชาติถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 40 จัดเป็นบริษัทท้องถิ่น 5,000เปโซ -ต้องจดทะเบียนกับ Securities and Exchange Commission (SEC)
-ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนกับ กระทรวงการค้าฯ
องค์กรภายใต้กฎหมายต่างชาติ 4. สำนักงานสาขา กิจการที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แล้วเข้ามาดำเนินธุรกิจในฟิลิปปินส์ ภายใต้การบริหารงานของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ -โดยทั่วไป 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับกิจการที่มี การใช้เทคโนโลยี ระดับสูง หรือจ้างแรงงานมากกว่า 50 คน
-ไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ สำหรับกิจการที่ผลิดเพื่อส่งออก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 หรือบริษัทการค้าที่ ซื้อสินค้าในประเทศและส่งออก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
ต้องจดทะเบียนกับ Securities and Exchange Commission (SEC)
5. สำนักงานตัวแทน (Representative Office) กิจการที่จดทะเบียนในต่างประเทศแล้วเข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทนในฟิลิปปินส์ เพื่อทำหน้าที่บางอย่างแทนสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ โดยมิได้มีรายได้ในฟิลิปปินส์ 30,000ดอลลาร์สหรัฐ ต้องจดทะเบียนกับ Securities and Exchange Commission (SEC)

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ เว็บไซต์ BOI ฟิลิปปินส์ (http://www.boi.gov.ph/ (Doing Business > Establishment of Business)

ขั้นตอนการขออนุมัติลงทุน

  1. นักลงทุนควรศึกษาประเภทธุรกิจที่สนใจ จากเอกสารและเดินทางไปสำรวจลู่ทางการลงทุนในฟิลิปปินส์ด้วยตนเอง พร้อมทั้งขอคำแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษาก่อน และหากจะร่วมทุนกับท้องถิ่นควรศึกษาผู้ร่วมทุนอย่างรอบคอบ
  2. เมื่อตัดสินใจแล้ว ให้ยื่นข้อเสนอโครงการ (Proposal) พร้อมแบบฟอร์มขอรับส่งเสริมการลงทุน (BOI Form 501) และหลักฐานประกอบต่อ Board of Investments ของฟิลิปปินส์ ซึ่ง BOI จะพิจารณาอนุมัติภายใน 30 วัน
  3. หากอนุมัติ BOI จะออกหลักฐาน Letter of Approval และ Pre-registration Requirements ให้นักลงทุนเพื่อเตรียมหลักฐานสำหรับการจดทะเบียน และส่งกลับ BOI ภายใน 30 วัน
  4. เมื่ออนุมัติ BOI จะออกใบรับรอง (Certificate of Registration) ให้เป็นหลักฐาน จากนั้นนักลงทุนต้องไปแจ้งจดทะเบียนบริษัทตามหน่วยงานที่กำหนด อาทิ Department of Trade and Industry (DTI), Securities and Exchange Commission (SEC) หรือ Philippine Economic Zone Authority (PEZA) หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กิจการนั้นตั้งอยู่
  5. บริษัทต้องไปจดทะเบียนภาษีที่ Bureau of Internal Revenue รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Barangay และ Bureau of Fire Protection ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นที่โรงงานตั้งอยู่ โดยใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ต้องขออนุญาต Department of Environment & Natural Resources กรณีตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ต้องขออนุญาต Department of Labour & Employment กรณีต้องการนำเข้าบุคลากรต่างชาติ และ/หรือ ต้องขออนุญาต Department of Health กรณีเป็นกิจการผลิตหรือจำหน่ายอาหาร และกิจการที่เกี่ยวข้อง เช่น ร้านอาหาร เป็นต้น แล้วจึงจะเปิดดำเนินกิจการได้

3.2 มาตรการทางการค้าด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี

3.2.1 ประเภทภาษี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
อัตราภาษี

  • ปัจจุบัน ร้อยละ 35
  • นับแต่ต้นปี 2552 เป็นต้นไป ร้อยละ 30

ฐานเงินที่ใช้คำนวณภาษี

  • นิติบุคคลในประเทศ (Domestic Corporation) คือ กิจการที่จดทะเบียนตามกฎหมายฟิลิปปินส์) : คำนวนจากฐานเงินได้สุทธิ (Net income) ที่เกิดขึ้นจากทั่วโลก
  • นิติบุคคลต่างประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ในฟิลิปปินส์ (Resident Foreign Corporation) หมายถึงกิจการที่จดทะเบียนในต่างประเทศภายใต้กฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาดำเนินกิจการในฟิลิปปินส์ เช่น สาขาของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ) : ใช้ฐานเงินได้สุทธิ (Net income) ที่เกิดขึ้น เฉพาะในฟิลิปปินส์
  • นิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้มีถิ่นที่อยู่ในฟิลิปปินส์ (Non-resident Foreign Corporation) หมายถึงกิจการที่จดทะเบียนในต่างประเทศภายใต้ กฎหมายของต่างประเทศ และมิได้เข้ามาดำเนินกิจการ ในฟิลิปปินส์ : ฐานเงินได้รวม (Gross Income) ที่เกิดขึ้น เฉพาะในฟิลิปปินส์ เช่น เงินปันผล ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม ค่าชดเชย หรือค่าบริการต่างๆ โดยหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ทั้งนี้ บางรายการอาจะมีอัตราเฉพาะ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมต่างประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 20 เป็นต้น

ภาษีเงินได้พิเศษ (Special Income Tax)

กิจการที่ตั้งอยู่ในเขต Ecozones, Subic Bay Freeport and Special Economic Zone และ Clark Special and Economic Zone ที่ได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอาจเลือกชำระภาษีในอัตราพิเศษ ร้อยละ 5 ของรายได้รวม (Gross Income) แทนการชำระภาษีในอัตราตามข้อ 1

ภาษีการโอนกำไรออกนอกประเทศ (Profit Remittance Tax)

  • ร้อยละ 15 ของเงินโอน โดยไม่หักค่าลดหย่อนใดๆ
  • ยกเว้น กิจการภายใต้การดูแลของ PEZA ไม่ต้องเสียภาษีนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added Tax)

  • ร้อยละ 12
  • สินค้าบางประเภทได้รับการยกเว้น เช่น การค้าหรือการนำเข้าสินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และปุ๋ย การนำเข้าเครื่องมือเครื่องใช้เฉพาะทาง ธุรกิจบริการบางประเภท หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่นำติดตัวเข้ามา เพื่อการพำนักในฟิลิปปินส์โดยมิได้เพื่อการจำหน่าย เป็นต้น

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)

  • ร้อยละ 5-32
  • สำหรับชาวต่างชาติ คำนวณจากฐานเงินได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ เท่านั้น หมายเหตุ สำหรับชาวต่างชาติที่มิได้พำนักในฟิลิปปินส์ และมิได้ดำเนินกิจการในฟิลิปปินส์ หากมีเงินได้ที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ต้องชำระภาษีในอัตรา ร้อยละ 25 ของรายได้รวม (Gross Income)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของฟิลิปปินส์

ขั้นเงินได้ (เปโซ) อัตราภาษี
10000 ร้อยละ 5
10,001 - 30,000 ร้อยละ 10
30,001 - 70,000 ร้อยละ 15
70,001 - 140,000 ร้อยละ 20
140,001 - 250,000 ร้อยละ 25
500000 ร้อยละ 30
เกิน 500,000 ร้อยละ 35

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

3.2.2) สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

สิทธิประโยชน์จากการจดทะเบียนกับ BOI และ PEZA

เงื่อนไข สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
1 . กิจการที่จดทะเบียนกับ BOI

-เป็นกิจการที่ระบุใน หรือ

-หากเป็นกิจการที่มิได้อยู่ใน IPP ต้องเป็นการผลิต เพื่อส่ง ออกอย่างน้อย ร้อยละ 50 (กรณีเป็นกิจการที่ต่าง ชาติถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 40) หรืออย่างน้อยร้อยละ 70 (กรณีเป็นกิจการที่ต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 40)

- การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • โครงการใหม่ที่เป็นโครงการบุกเบิก (Pioneer Status) 6ปี
  • โครงการใหม่ที่มิได้เป็นโครงการบุกเบิก (Non-pioneer Status) 4ปี
  • โครงการขยาย 3 ปี และโดยทั่วไปจะจำกัดเฉพาะรายได้ ส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
  • โครงการใหม่หรือโครงการขยายที่อยู่ในเขตห่างไกลความเจริญ (Less Developed Areas : LDAs) 6ปีไม่ว่าจะเป็นโครงการบุกเบิกหรือไม่
  • โครงการปรับปรุงกิจการ 3ปีและโดยทั่วไปจะจำกัดเฉพาะรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
  • โครงการใหม่และโครงการที่ตั้งอยู่ในเขต LDAs อาจได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก 1 ปี ถ้ากิจการนั้นมีการใช้วัตถุดิบในประเทศ อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของต้นทุนวัตถุดิบในปีก่อนหน้า (ยกเว้น BOI กำหนดสัดส่วนสูงกว่านี้) หรือ สัดส่วนทุนต่อแรงงานไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคน หรือ มีรายได้เงินตราต่างประเทศสุทธิอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

- การยกเว้นภาษีนำเข้า สำหรับกิจการที่มีคลังสินค้าทัณฑ์บน

  • การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีส่งออก และค่าธรรมเนียมการนำเข้า สำหรับกิจการที่จดทะเบียนภายใต้IPP เป็นเวลา 10 ปีนับจากวันที่จดทะเบียน
  • การหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายจ่ายดังนี้

- ค่าจ้างแรงงาน : ลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ง หากกิจการนั้นมีสัดส่วนทุนต่อแรงงานตามที่กำหนด และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1 -ค่าใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็น สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด หากกิจการนั้น ตั้งอยู่ในเขตท้องถิ่นห่างไกลความเจริญที่ขาดแคลนโครงสร้าง พื้นฐาน สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งนี้ ยกเว้นกิจการเหมืองแร่และป่าไม้ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอยู่แล้ว

- การจ้างแรงงานต่างชาติ กิจการที่จดทะเบียนกับ BOI สามารถจ้าง แรงงานต่างชาติในตำแหน่งผู้อำนวยการ ช่างเทคนิค และที่ปรึกษา ได้ 5 ปีนับจากวันที่จดทะเบียน ทั้งนี้ ยกเว้นประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการด้านการเงินไม่มีข้อจำกัดนี้

- การผ่อนคลายพิธีการศุลกากร กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ วัตถุดับ และสินค้า และการส่งออกสินค้า โดยการผ่อนคลายระบบพิธีการศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน

2 . กิจการที่จดทะเบียนกับ PEZA

- ตั้งอยู่ในเขตส่งเสริม การลงทุนภายใต้การ กำกับดูแลของ PEZA

-มีการส่งออกอย่างน้อย ร้อยละ 70

  1. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ประกอบการจะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 4 ปี และขยายได้อีกไม่เกิน 4 ปี หลังจากนั้นสามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตราพิเศษ(Special Income Tax) ร้อยละ 5 ของรายได้รวม (Gross incomeX แทนการเสียภาษีเงินได้และภาษีท้องถิ่นในอัตราทั่วไปได้
  2. การยกเว้นภาษีนำเข้าผู้ประกอบการได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่และวัตถุดิบทั้งหมด
  3. การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีส่งออกและค่าธรรมเนียมการนำเข้า ผู้ประกอบการจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ท่าเรือ ภาษีส่งออก และค่าธรรมเนียมในการนำเข้าสินค้าต่างๆ
  4. สิทธิการพำนักถาวรผู้ประกอบการต่างชาติ และครอบครัวจะได้สิทธิการพำนักถาวร หากมีการลงทุนเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 150,000ดอลลาร์สหรัฐฯ
  5. การผ่อนคลายพิธีการศุลกากรผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวก ในการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยการผ่อนคลายระบบพิธีการศุลกากรให้คล่องตัวขึ้น

สิทธิประโยชน์ในกรอบ ASEAN

  • ที่มา : เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยมีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ต่อมาประเทศเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก AFTA ในภายหลัง
  • วัตถุประสงค์ : เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้า และการลดภาษี และอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
  • กลไกการลดภาษี เรียกว่า CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ ซึ่งมีไทยและฟิลิปปินส์รวมอยู่ด้วย ลดภาษีในบัญชี Inclusion List (IL) ให้เหลือ 0-5% ภายในปี พ.ศ. 2546 และลดให้เป็น 0% ภายในปี พ.ศ. 2553 (สำหรับประเทศเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งเข้าร่วมภายหลัง ได้รับการผ่อนปรนด้านระยะเวลาที่ใช้ในการลดภาษีมากกว่า)
  • สินค้าที่ได้รับการยกเว้นจาก CEPT มี 3 ประเภท คือ 1. สินค้าที่ได้รับการยกเว้นชั่วคราว 2. สินค้าเกษตรที่อ่อนไหวสูง เช่น ข้าว 3. สินค้ายกเว้นทั่วไป
  • สำหรับข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับ AFTA และบัญชี Inclusion List ล่าสุด โปรดดูเว็บไซต์ www.aseansec.org/12025.htm

3.2.3) มาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (ที่มา: www.depthai.go.th)

สินค้าที่ฟิลิปปินส์ห้ามนำเข้าประเทศ

  1. Dynamite, gunpowder, ammunitions and other explosives, firearms and weapons of war, and parts thereof, except when authorized by law.
  2. Written or printed articles in any form containing any matter advocating or inciting treason, or rebellion, insurrection, sedition or subversion against the Government of the Philippines, or forcible resistance to any law of the Philippines, or containing any threat to take the life of, or inflict bodily harm upon any person in the Philippines.
  3. Written or printed articles, negatives or cinematographic film, photographs, engravings, lithographs, objects, paintings, drawings or other representation of an obscene or immoral character.
  4. Articles, instruments, drugs and substances designed, intended or adapted for producing unlawful abortion, or any printed matter which advertises or describes or gives directly or indirectly information where, how or by whom unlawful abortion is produced.
  5. Roulette wheels, gambling outfits, loaded dice, marked cards, machines, apparatus or mechanical devices used in gambling or the distribution of money, cigars, cigarettes or other articles when such distribution is dependent on chance, including jackpot and pinball machines or similar contrivances, or parts thereof.
  6. Lottery and sweepstakes tickets except those authorized by the Philippine Government, advertisements thereof, and lists of drawings therein.
  7. Any article manufactured in whole or in part of gold, silver or other precious metals or alloys thereof, the stamps, brands or marks or which do not indicate the actual fineness of quality of said metals or alloys.
  8. Any adulterated or misbranded articles of food or any adulterated or misbranded drug in violation of the provisions of the ?Food and Drugs Act.?
  9. Marijuana, opium, poppies, coca leaves, heroin or any other narcotics or synthetic drugs which are or may hereafter be declared habit forming by the President of the Philippines, or any compound, manufactured salt, derivative, or preparation thereof, except when imported by the Government of the Philippines or any person duly authorized by the Dangerous Drug Board, for medicinal purposes only.
  10. Opium pipes and parts thereof, of whatever material.

สินค้าที่ฟิลิปปินส์ควบคุมการนำเข้าประเทศ

สินค้า มาตรการ การควบคุม
Cane sugar, raw in solid form, not containing added flavoring or coloring matter, centrifugal มีการกำหนดโควตานำเข้า อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 50 นอกโควตา ร้อยละ 65 ผู้นำเข้า น้ำตาลในโควตาต้องติดต่อกับ the Department of Agriculture
White crystal or granulated sugar
Other cane sugar raw in solid form, not containing added flavoring or colouring matter
White non-glutinous rice 5% ดำเนินการนำเข้าโดย นำเข้าโดย The National Food
White non-glutinous rice 25% รัฐบาลเท่านั้น Authorityเท่านั้น
White non-glutinous rice 15%
Other food preparations not elsewhere specified or included, other than protein substance ต้องลงทะเบียนและมีCertification of Product The Bureau of Food and Drug Administrationเป็นผู้ออกใบรับรอง
Prepared foods obtained by the swelling or roasting of cereals or cereal products
Other parts and accessories of motorcycles (including MOPEDS) ต้องขออนุญาตนำเข้า The Bureau of Import Services, Department of Trade and Industryเป็นผู้ออกใบอนุญาตนำเข้า
Motorcycles (including MOPEDS) and cycles fitted with an auxiliary motor, with or without side cars
Vans and Pick-up trucks which G. V.W. not exceeding 5 tonnes
Other trailers and semi-trailers
Other lighting or visual signaling equipment of a kind used for cycles or motor vehicles
Other spark-ignition reciprocating or rotary internal combustion piston engines, other than aircraft
Other parts and accessories of the motor vehicle
Other special purpose motor vehicles
Solar or diesel gas oil ต้องขออนุญาตนำเข้า The Energy Regulatory Board
Benzine regular for engines เป็นผู้ออกใบอนุญาตนำเข้า โดย
Kerosene J.P. 1 for lighting การมอบหมายให้บริษัทน้ำมันของ
Benzine premium for engines ฟิลิปปินส์หลายบริษัทดำเนินการ
Other petroleum oils and oils obtained from bituminous minerals other than crude; preparations not แทน
Medicaments consisting of mixed or unmixed products for therapeutic or prophylactic purposes ต้องขออนุญาตนำเข้า ก่อนนำเข้าต้องขออนุญาตจาก the Bureau of Food and Drug Administration
Intermixture JRE of vitamins of provitamins or of concentrates, including natural concentrates
Other medicaments consisting of mixed or unmixed products for therapeutic or prophylactic uses
Other antibiotics
Other beauty make-up preparations and preparations for the care of the skin ต้องลงทะเบียนและมีใบรับรอง ก่อนนำเข้าต้องขออนุญาตจาก the Bureau of Food and Drug Administration
Herbicides, put up in forms or packing ต้องขออนุญาตนำเข้า The Fertilizers and Pesticide authorityจะออกใบอนุญาตนำ
Other insecticides, put up in forms or packing for retail sale or as preparations or articles เข้าให้เฉพาะผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำเข้ายาฆ่าแมลง
Other new pneumatic tyres, rubber, of kind used on buses or lorries ต้องขออนุญาตนำเข้า ผู้นำเข้าต้องแจ้งรายละเอียดสินค้าที่จะนำเข้าต่อ the Philippine National Standards. The Bureau of Product Standard เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ หากตรงตามมาตรฐานจะได้รับใบอนุญาตนำเข้า
Other electrical apparatus for switching or protecting electrical circuits, or for making connections ต้องขออนุญาตนำเข้า ผู้นำเข้าต้องแจ้งรายละเอียดสินค้าที่จะนำเข้าต่อ the Philippine National Standards. The Bureau of Product Standard
Other airconditioning machines, comprising motor-driven fan and elements for charging the temperature เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ หากตรงตามมาตรฐานจะได้รับใบอนุญาตนำเข้า
Ceramic sinks, wash basins baths, bidets, water closet pans, urinal and similar sanitary fixtures
Stranded wire, ropes and cables, or iron or steel, not electrically insulated
Flourescent, hot cathode
Other toughened (tempered) safety glass
Window or wall types of airconditioning

สินค้าเกษตรที่มีการกำหนดปริมาณนำเข้า/ราคานำเข้า ตามมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measures) มีดังนี้

  1. Seed potatoes
  2. Potatoes, fresh or chilled, other than seed potatoes
  3. Onions and shallots, fresh or chilled
  4. Garlic, fresh or chilled
  5. Cabbages, fresh or chilled
  6. Kohlrabe, kale and similar edible brassicas, fresh or chilled
  7. Manioc (cassava), fresh or dried, whether or not sliced or in the form of pellets
  8. Sweet potatoes, fresh or chilled
  9. Coffee, not roasted, not decaffeinated
  10. Coffee, not roasted, decaffeinated
  11. Coffee, roasted, decaffeinated
  12. Coffee husks and skins; coffee substitutes containing coffee in any preparation
  13. Wheat used as feed
  14. Rye
  15. Barley
  16. Oats
  17. Maize (corn) seed
  18. Grain sorghum
  19. Other cereals
  20. Groats and meal of wheat
  21. Groats and meal of maize (corn)
  22. Pellets of wheat
  23. Rolled or flaked grains of oats
  24. Other worked oats
  25. Rolled or flaked grains of maize (corn)
  26. Other worked grains of maize (corn)
  27. Wheat gluten, whether or not dried
  28. Cane sugar, raw, not containing added flavoring or coloring matter
  29. Beet sugar, raw, not containing added flavoring or coloring matter
  30. Extracts, essences and concentrates of coffee
  31. Preparations with a basis of extracts, essences or concentrates or with a basis of coffee
  32. Bran, sharps and other residues, whether or not in the form of pellets, derived from the sifting, milling or other working of maize (corn)
  33. Residues of starch manufacture and similar residues

3.3 โอกาสในการลงทุน และข้อเสนอแนะสำหรับนักลงทุนไทย

3.3.1 ปัจจัยส่งเสริมการลงทุนในฟิลิปปินส์

  • มีทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ และเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ
  • ค่าจ้างงานค่อนข้างต่ำ
  • มีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากถึง 88 ล้านคน
  • มีทรัพยากรที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ อาทิ ทองคำ ทองแดง โครเมียม นิกเกิล รวมทั้งสัตว์น้ำและพืชผลทางการเกษตรต่างๆ

3.3.2 อุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพลงทุนในฟิลิปปินส์

  • การแปรรูปสินค้าเกษตร ตัวอย่างบริษัทไทยที่ประสบความสำเร็จ เช่น บริษัท Alliance Tuna International Inc. และเครือเจริญโภคภัณฑ์
  • อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น วัสดุก่อสร้าง
  • อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมชนิดนี้สูง และได้สร้างอุทยานวิทยาศาสตร์และไอทีไซเบอร์ไหลายแห่ง เขตที่น่าลงทุนคือ มะนิลาและจังหวัดใกล้เคียง ลูซอนกลาง และทากาล็อกใต้
  • การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและที่พักอาศัยราคาถูก
  • กิจการโรงพยาบาล ฟิลิปปินส์มีบุคลากรด้านการแพทย์และพยาบาลจำนวนมาก เครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของไทยได้เข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์ในนาม ?Asian Hospital? ตั้งแต่ปี 2547
  • อุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมการผลิตกระเบื้อง ซึ่งมีโรงงานของบริษัทในเครือ SCG คือบริษัท UPPC (ผลิตกระดาษ) และบริษัท Mariwasa Siam Ceramics, Inc. (ผลิตกระเบื้อง) เข้ามาลงทุน

3.4 ข้อสังเกตบางประการ

  1. จากการสำรวจเศรษฐกิจในฟิลิปปินส์พบว่า สินค้าไทยค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในตลาดฟิลิปปินส์ อย่างไร ก็ตาม การผลิตเพื่อจำหน่ายในฟิลิปปินส์ควรมุ่งตลาดล่าง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ยังยากจน ควรเน้นสินค้าคุณภาพดีแต่ราคาต่อหน่วยต่ำ ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การลดขนาดบรรจุต่อหน่วย เพื่อผู้บริโภคสามารถซื้อครั้งละเล็กน้อยได้ เป็นต้น
  2. การลงทุนในฟิลิปปินส์ควรอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากฟิลิปปินส์ยังมีปัญหาความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานอยู่มาก นอกจากนี้ การลงทุนในเขตดังกล่าวยังได้สิทธิประโยชน์ ที่ค่อนข้างสูง เช่น นอกจากจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 4-8 ปีแล้ว หลังจากนั้น ยังมีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราพิเศษร้อยละ 5 ของรายได้รวมอีกด้วย
  3. การดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์ ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางซึ่งค่อนข้างสูง เนื่องจากการเดินทางข้ามเมืองไม่สะดวกและอาจต้องใช้เวลานาน รวมทั้งต้องระวังปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย
  4. ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งเส้นทางคมนาคม ท่าเรือ สนามบิน และไฟฟ้า การขาดแคลนอุตสาหกรรมสนับสนุน ปัญหาการตกค้างของสิ่งปฏิกูล และมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะในเขตเมืองหลวง รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นรุนแรงบ่อยครั้ง และความวุ่นวายทางการเมือง เป็นปัจจัยที่พึงตระหนักสำหรับนักลงทุนไทย

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของฟิลิปปินส์

การค้าระหว่างประเทศของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – กันยายน ของปี 2552 และ 2553

ม.ค. – ก.ย. 52 ม.ค. – ก.ย. 53 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
การค้ารวม 59.3 78.2 31.8
การส่งออก   
27.6
38.3
38.5
การนำเข้า   
31.7
39.9
26.0
ดุลการค้า   
-4.04
-1.639   
-59.47
มูลค่า : พันล้านเหรียญสหรัฐ

ปริมาณการค้ารวมเดือน มกราคม - กันยายน 2553 มีมูลค่า 78.235 พันล้าน USD (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.84) โดยเป็นการส่งออก 38.298 พันล้าน USD และนำเข้า 39.937 พันล้าน USD

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 23.502 พันล้าน USD (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.3 ของมูลค่าส่งออกรวม) ลำดับที่สอง ได้แก่ เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม ไม้แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ไม้ และยังมีน้ำมันมะพร้าว โดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฟิลิปปินส์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน และฮ่องกง

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 13.678 พันล้าน USD (มีสัดส่วนร้อยละ 34.2 ของการนำเข้ารวม) น้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าทุนที่สำคัญ อาทิ อุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมและไฟฟ้า และอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับสินค้าข้าว ตั้งแต่มกราคม - กันยายน 2553 มีการนำเข้าข้าวคิดเป็นมูลค่า 1,493.5 ล้าน USD (มากกว่าปี 2552 ร้อยละ 66.7)

ดุลการค้าของฟิลิปปินส์ในช่วง มกราคม – กันยายน 2553 ขาดดุล 1.639 พันล้าน USD (ต่ำกว่าปี 2552 ร้อยละ 59.47)

**********************************

ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง

ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก พื้นที่ ๒๙๘,๑๗๐ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๓ ใน ๕ ของประเทศไทย) ประกอบด้วย ๗,๑๐๗ เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว ๓๔,๖๐๐ กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลเมตร

เมืองหลวง

กรุงมะนิลา

ประชากร

๘๘.๗ ล้านคน (๒๕๕๐)

ภูมิอากาศ

อากาศเมืองร้อน

ภาษา

ฟิลิปิโน (Filipino) และอังกฤษเป็นภาษราชการ

ศาสนา

รมันคาธอลิกร้อยละ ๘๓ โปรเตสแตนท์ร้อยละ ๙ มุสลิมร้อยละ ๕ พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ ๓

หน่วยเงินตรา

เปโซ (๔๘.๖๔ เปโซ ต่อ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ ? มีนาคม ๒๕๕๐)

ผลิตภันฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

๑๑๖.๔ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๔๙)

รายได้ประชาชาติต่อหัว

๑,๔๒๘ ดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๔๙)(GDP per capita)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ร้อยละ ๕.๔ (๒๕๔๙)

การเมืองการปกครอง

ระบอบการปกครอง

ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่าย บริหาร (วาระ ๖ ปี) เลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ซึ่งอนุญาตให้เลือกตั้งในต่างประเทศได้ เป็นครั้งแรก สถานะวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

๑. การเมืองการปกครอง

๑.๑ ฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย (Gloria Macapagal Arroyo) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ และได้แถลงนโยบายและผลงานประจำปีต่อรัฐสภา (State of the Nation Address) เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ สรุปว่า จะดำเนินตามนโยบาย ๑๐ ประการที่ได้ประกาศไว้ในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ได้แก่


(๑) การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง
(๒) การสร้างงาน
(๓) การสร้างความยุติธรรมทางสังคมและความต้องการขั้นพื้นฐาน
(๔) การปรับปรุงระบบการศึกษาให้ทันสมัย
(๕) การพึ่งพาและการประหยัดพลังงานภายในประเทศ
(๖) แก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ
(๗) การลดจำนวนหน่วยงานของรัฐบาล
(๘) การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
(๙) การเพิ่มปริมาณการลงทุน
(๑๐) การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด

๑.๒ ประธานาธิบดีอาร์โรโยมีแนวคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง เป็น แบบรัฐสภา และได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการปกครองยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากหลายฝ่าย ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยืนยันจะคงผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปหลังจาก การเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑.๓ ฟิลิปปินส์ประสบปัญหากลุ่มก่อความไม่สงบในหมู่เกาะมินดาเนา แบ่งได้เป็น ๓ กลุ่มหลักได้แก่


(๑) กลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน (secessionist movement) เช่น Moro Islamic Liberation Front (MILF) และ Moro National Liberation Front- Misuari Group (MNLF-MG)
(๒) กลุ่มก่อการร้าย (terrorist group) เช่น Abu Sayyaf Group (ASG) และ Jemaah Islamiya (JI) และ Foreign Militant Jihadist
(๓) กลุ่มคอมมิวนิสต์ (communist insurgency) เช่น Communist Party of the Philippines (CPP), New People?s Army (NPA) และ National Democratic Front (NDF) รัฐบาลฟิลิปปินส์มีนโยบายใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความต้องการของ ทุกฝ่าย และเร่งพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้มิตรประเทศสนับสนุนกระบวนการเจรจาสันติภาพ เช่น รัฐบาลมาเลเซียได้ช่วยประสานงานการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับ กลุ่ม MILF สำหรับกลุ่มก่อการร้าย เช่น JI รัฐบาลใช้นโยบายปราบปรามและโดดเดี่ยวกลุ่มผู้ก่อการร้ายมุสลิมไม่ให้ได้รับ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

เศรษฐกิจการค้า

เศรษฐกิจการค้า

๒. เศรษฐกิจและสังคม

๒.๑ รัฐบาลจะลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข การสร้างงาน รวมทั้งมีเป้าหมายที่จะให้มีงบประมาณสมดุลในปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๔๙ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ ๕.๔ และมีแนวโน้มที่ดีทั้งในตลาดหุ้น การส่งออก การลงทุน การจ้างงาน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลยืนยัน

๒.๒ แผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ของฟิลิปปินส์ตามถ้อยแถลงของประธานาธิบดีอาร์โรโย เมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการแบ่งเขตที่จะพัฒนาออกเป็น ๕ เขต (Mega Regions) คือ ลูซอนเหนือ เมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์กลาง มินดาเนา และไซเบอร์ คอร์ริดอร์ เพื่อให้สามารถทุ่มงบประมาณเข้าไปพัฒนาพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจตรงเป้าหมาย และครอบคลุม รวมทั้งเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา เศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์พยายามลดเงื่อนไขที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจใน ฟิลิปปินส์ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการค้า โดยเฉพาะด้าน การท่องเที่ยวและการส่งออก

๒.๓ ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์คือ แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศเพิ่มขึ้น เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินทุนสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกและธุรกิจภาคบริการขยายตัว และอัตราเงินเฟ้อลดลง ส่วนปัจจัยด้านลบ ได้แก่ ปัญหาจากภัยก่อการร้าย ซึ่งกดดันบรรยากาศการลงทุนของประเทศ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่คาดว่าจะส่งผลให้สินค้าส่งออกของฟิลิปปินส์ไปประเทศเหล่านี้ชะลอตัว ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง และมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ในรูปแบบต่างๆ

๒.๔ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอุปสรรคจากความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงานภาครัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศด้านการลงทุนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ทำให้พื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ยลดลง

๓. นโยบายต่างประเทศ

ในด้านความมั่นคง รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ ต่าง ๆ ในทุกภูมิภาค โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน การหารือทางการเมือง การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมในด้านต่าง ๆ การลงนามความตกลงทวิภาคี รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางทหารและความมั่นคงกับประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการแลกเปลี่ยนการฝึกร่วมทางทหารทั้งในระดับทวิภาคี (กับสหรัฐฯ) อาทิ Balikatan และระดับพหุภาคี (กับสหรัฐฯ ไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ) อาทิ Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Cobra Gold และ Team Challenge

ฟิลิปปินส์ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันในกรอบความร่วมมือและเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ อาเซียน กรอบความร่วมมือของเอเชียตะวันออก-ละตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation ? FEALAC ซึ่งฟิลิปปินส์ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรี FEALAC เมื่อวันที่ ๓๐ ? ๓๑ มกราคม ๒๕๔๗) การประชุม Pacific Islands Forum และการประชุมต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมีลักษณะพิเศษกับสหรัฐฯ เนื่องจากความเกี่ยวพัน ทางประวัติศาสตร์ แม้ว่าในปัจจุบันฟิลิปปินส์จะดำเนินนโยบายต่างประเทศกับสหรัฐฯ ในลักษณะสองทิศทาง คือ พยายามเป็นอิสระ (โดยยกเลิกการให้สหรัฐฯ ใช้ฐานทัพเรือที่อ่าวซูบิก (Subic) และฐานทัพอากาศคลาร์ก (Clark) แต่ก็ยังคงเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้ฐานทัพ ฟิลิปปินส์ของกองทัพสหรัฐฯ (Visiting Force Agreement ? VFA) เมื่อปี ๒๕๔๑

ในระหว่างการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๑๗ ? ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการสนับสนุนการปฏิบัติการ ตอบโต้การก่อการร้ายและสงครามในอิรักของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ได้ตอบแทนด้วยการให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ เช่น สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมทางทหารแก่ฟิลิปปินส์ ภายใต้งบประมาณจำนวน ๙๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายในฟิลิปปินส์ ลดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งเงินจากสหรัฐฯ ไปฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์ในสหรัฐฯ เสียค่าใช้จ่ายในการส่งเงินกลับประเทศน้อยลง นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังประกาศยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าบางประเภทจากฟิลิปปินส์ และเพิ่มสวัสดิการความช่วยเหลือแก่ทหารผ่านศึกในสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ

ในส่วนของการทูตเพื่อการพัฒนาประเทศนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการโดย

(๑) การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี อาทิ ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน กรอบความร่วมมือ Brunei-Indonesia-Malaysia-Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA) กรอบ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) การประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) องค์การการค้าโลก และสหประชาชาติ

(๒) การส่งเสริมโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศต่าง ๆ อาทิ ญี่ปุ่น สวีเดน เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก และคณะกรรมาธิการยุโรป

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

?

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์

๑. ความสัมพันธ์ทั่วไป

๑.๑ การทูต

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๒ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาคนปัจจุบันคือ นางอัชฌา ทวีติยานนท์ และมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ

๑.๒ การเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ดำเนินไปอย่างราบรื่นและใกล้ชิดมานาน ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตด้วย และเป็นประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับไทย และเป็นแนวร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีทัศนคติและแนวคิดคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ทั้งสองฝ่ายมีกลไกส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (Joint Commission ? JC) ตั้งเมื่อปี ๒๕๓๖ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ

ทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม (ประชุมครั้งที่ ๑ ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ ๑ - ๔ มีนาคม ๒๕๓๗ ครั้งที่ ๒ ที่ภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๗ - ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๓ ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๒ และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JC ครั้งที่ ๔ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐)

สำหรับท่าทีของฝ่ายฟิลิปปินส์ต่อสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น ประธานาธิบดีอาร์โรโยกล่าวว่า ฟิลิปปินส์ร่วมกับประชาคมโลกเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามหลักนิติรัฐ (the rule of law) และกลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด และในฐานะเพื่อนบ้านและพันธมิตรอาเซียน ฟิลิปปินส์อยู่เคียงข้าง ประชาชนชาวไทยในการแสวงหาและนำมาซึ่งสันติภาพและความเป็นเอกภาพภายในประเทศ และมองว่าเป็นการดีที่เหตุการณ์ทางการเมืองในไทยที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดการ สูญเสียเลือดเนื้อของประชาชน และโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีได้ออกแถลงการณ์ว่า ฟิลิปปินส์รู้สึกคลายความกังวลที่สถานการณ์ทาง การเมืองในไทยได้คลี่คลายลง และสถานที่ราชการและธุรกิจต่างๆ ได้เปิดทำการดังเดิม ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ปรารถนาที่จะเห็นสันติภาพและความสามัคคีเกิดขึ้นในสังคมไทย ในขณะที่คาดว่าจะมีการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ขึ้นโดยเร็ว ที่สุด โดยไทยยังเป็นพันธมิตรที่สำคัญของฟิลิปปินส์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย และการแก้ไขปัญหาความยากจน หลังจากนั้น เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ

๑.๓ ความมั่นคง

ไทยกับฟิลิปปินส์มีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิด อาทิ การจัดส่งนักเรียนนายร้อย ของไทยเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ การแลกเปลี่ยนนายทหารเข้าอบรมในหลักสูตรเสนาธิการ ทหาร การแลกเปลี่ยนการดูงานของนักศึกษาในหลักสูตรวิชาทหารต่าง ๆ การสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองทางทหารระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำเหล่าทัพ โดยฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกคอบร้าโกลด์ และได้เข้าร่วมการฝึก Command Post Exercise (CPX) ในปี ๒๕๔๗ ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลไทยได้มอบเครื่องบินโจมตีแบบ OV-๑๐ ซึ่งปลดประจำการแล้วของกองทัพอากาศตามคำขอของรัฐบาลฟิลิปปินส์ด้วย จำนวน ๘ ลำ ในปี ๒๕๔๖-๔๗

๑.๔ เศรษฐกิจ

๑.๔.๑ การค้า

การค้าระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๔๙ มีมูลค่า ๔,๖๘๔.๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๘ ร้อยละ ๑๘.๘ ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ ๒,๕๘๐.๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕.๒ และนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ๒,๑๐๔.๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๕ ไทยได้เปรียบดุลการค้า ๔๗๖.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกสินค้าไปฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๔๙ คิดเป็นร้อยละ ๒ ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย สินค้าไทยมีส่วนแบ่งตลาดในฟิลิปปินส์ประมาณร้อยละ ๓.๕ สินค้าออกรายการสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องรับโทรทัศน์ และกระดาษ

สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบอุปกรณ์ยานพาหนะ รถยนต์นั่ง เครื่องจักรกล สินแร่โลหะและเศษโลหะ เครื่องมือทางการแพทย์ ยาสูบ สัตว์น้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เป็นต้น แนวโน้มการส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๕๐ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘ มีมูลค่า ๓,๐๔๔.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ขยายตัว คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน เงินรายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ การลงทุนภาครัฐบาลในโครงการระบบสาธารณูปโภค สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เคื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามความตกลงทางการค้าเมื่อปี ๒๕๔๒ และได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางด้านการค้า (Joint Trade Commission ? JTC) ภายใต้ความตกลงดังกล่าว และทั้งจะพิจารณาจัดการประชุม JTC ครั้งที่ ๑ ต่อไป ภายในปี ๒๕๕๐

รัฐบาลฟิลิปปินส์ปัจจุบันให้ความสนใจกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทย ดังจะเห็นได้จากการประกาศโครงการ ?One Town, One Product, One Million Pesos? ซึ่งคล้ายคลึงกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และกองทุนหมู่บ้านของไทย นอกจากนั้น ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังประกาศใช้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ย่อมโดยดูตัวอย่างจากไทยอีกด้วย

๑.๔.๒ การลงทุน

บริษัทไทยที่ไปลงทุนในฟิลิปปินส์ ได้แก่ บมจ.ปตท. บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนฟิลิปปินส์มาลงทุนในไทยในระดับน่าพอใจ บริษัทฟิลิปปินส์ที่ลงทุนในไทย เช่น บริษัท Universal Robina บริษัท San Miguel และ Liwayway Food Industries

๑.๔.๓ การท่องเที่ยว

ไทยและฟิลิปปินส์มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๖ ในปี ๒๕๔๙ มีนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์มาไทย ๑๙๘,๔๔๓ คน ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การจัด Business Matching และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะขยายความร่วมมือทางการบินระหว่างกันและจะให้มีการ เจรจาการบินภายในปี ๒๕๕๐

๑.๕ สังคมและวัฒนธรรม

ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๘ และ เมื่อปี ๒๕๓๙ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาได้จัดกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยได้เลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กกำพร้าและเด็กพิการ และสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ด้วย

นอกจากนี้ เมื่อปี ๒๕๔๒ เนื่องในโอกาสการฉลองครบรอบ ๕๐ ปีของการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ฟิลิปปินส์ได้มีการจัดพิมพ์แสตมป์ที่ระลึก ใช้ชื่อประเทศไทยเป็นชื่อ ถนน Rada (Thailand) Street ในกรุงมะนิลาและตั้งวงเวียนมิตรภาพฟิลิปปินส์-ไทยที่กรุงมะนิลา ส่วนประเทศไทยได้เปลี่ยนชื่อซอยข้างสถานเอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ในกรุงเทพฯ (ซอยสุขุมวิท ๓๐/๑) เป็น ?ซอยฟิลิปปินส์?

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยจัดงานเทศกาลอาหารไทยต่อเนื่องมาหลายปี จนเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนในกรุงมะนิลามากขึ้นและมีการพูดถึงในสื่อมวลชน ฟิลิปปินส์ ซึ่งในงานมีร้านอาหารไทยในกรุงมะนิลาและผู้นำเข้าสินค้าไทยร่วมออกร้าน มีการสาธิตการทำอาหารไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการจัดงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

ในปี ๒๕๔๙ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอง สิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรม ดังนี้


๑. มอบรายได้จากการจัดงานเทศกาลอาหารไทยส่วนหนึ่งแก่ Early Childhood Education Division, Social Service Department ของเมือง Muntinlupa สำหรับก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้แก่ Sucat Day Care Center รวมทั้งมอบให้มูลนิธิ Munting Kalinga เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากไร้ในพื้นที่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

๒. คณะวงดนตรี Bangkok Symphony Orchestra (BSO) นำโดย ม.ล.อัศนี ปราโมช องคมนตรี ได้เดินทางไปแสดงดนตรีคอนเสิร์ตเพลงพระราชนิพนธ์ที่กรุงมะนิลา ด้วยความร่วมมือของ Cultural Center of the Philippines เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ โดยประธานาธิบดีอาร์โรโย และอดีต ประธานาธิบดีรามอส ได้ไปร่วมชมการแสดงด้วย

คณะสื่อมวลชนชั้นนำของฟิลิปปินส์ได้เดินทางเยือนไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยฝ่ายไทยได้ จัดให้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้บุคคลเหล่านี้นำข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย กลับไปเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ และในแต่ละปีได้มีการประกวดเรียงความเกี่ยวกับประเทศไทยสำหรับนักเรียนและ นักศึกษาในฟิลิปปินส์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนของฟิลิปปินส์มีความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยมากขึ้น

ไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับฟิลิปปินส์ โดยจัดสรรทุนฝึกอบรมประจำปีให้แก่บุคลากรฟิลิปปินส์ในสาขาต่าง ๆ อาทิ การเกษตร ประมง สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย การพัฒนาชุมชน และไทยได้มอบเงินช่วยเหลือมูลค่ากว่า ๓๐ ล้านบาทแก่รัฐบาลฟิลิปปินส์สำหรับเป็นเงินทุนสร้างศูนย์เก็บรักษาและแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวที่มหาวิทยาลัยปังกาสินัน รวมทั้งได้จัดสรรทุนฝึกอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญฟิลิปปินส์ซึ่งจะปฏิบัติงานที่ ศูนย์แห่งนี้ด้วย

ในปี ๒๕๔๙ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฟิลิปปินส์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ เช่น มอบเงิน ๑๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินถล่มที่จังหวัด Southern Leyte เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ และบริจาคข้าวสารจำนวน ๑,๐๐๐ ตัน ให้ผู้ประสบภัยจากไต้ฝุ่นทุเรียน ซึ่งเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากที่สุดที่เข้าถล่มฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยนายกรัฐมนตรีได้ส่งสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ด้วย

๑.๖ แนวโน้มความสัมพันธ์

ไทยและฟิลิปปินส์จะฉลองครบ ๖๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปี ๒๕๕๒ ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีและไม่เคยมีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง เป็นพัธมิตรทางยุทธศาสตร์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง ฟิลิปปินส์สามารถเป็นแนวร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศเพราะมีทัศนคติ คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน จากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทยและฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาเห็นชอบโครงการและกิจกรรมที่จะส่งเสริมและขยายความ ร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้งทางด้านการค้าการลงทุน การเกษตร ท่องเที่ยว พลังงาน การศึกษาและวัฒนธรรม และความมั่นคง

๒. ความตกลงที่สำคัญ ๆ กับไทย


๒.๑ ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหาร (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๐)
๒.๒ ความตกลงว่าด้วยไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๒)
๒.๓ ความตกลงว่าด้วยบริการเดินทางอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๙๖)
๒.๔ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕)
๒.๕ ความตกลงว่าด้วยที่ดิน (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๖)
๒.๖ ความตกลงทางวัฒนธรรม (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๑๘)
๒.๗ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๒)
๒.๘ ความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๔)
๒.๙ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๕)
๒.๑๐ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๒๖)
๒.๑๑ ความตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ (ลงนาม เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๕)
๒.๑๒ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๖)
๒.๑๓ ความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๘)
๒.๑๔ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐)
๒.๑๕ บันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือทางทหาร (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐)
๒.๑๖ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๒.๑๗ บันทึกความเข้าใจการขจัดคราบน้ำมัน (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๒)
๒.๑๘ ความตกลงทางการค้า (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒)
๒.๑๙ สนธิสัญญาการโอนตัวนักโทษ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๔)
๒.๒๐ ความตกลงแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ และจัดตั้งวิธีการดำเนินการในการสื่อสาร (ลงนามเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕)
๒.๒๑ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๖)
๒.๒๒ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกิจกรรมเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๖)

๓. การเยือนที่สำคัญ

๓.๑ ฝ่ายไทย

พระราชวงศ์
  • วันที่ ๙ ? ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการในโอกาสดังกล่าว นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นบุตรีของนายดิออสดาโด มาคาปากัล (Diosdado Macapagal) ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึกแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
  • เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ถึง ๒ กันยายน ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงรับรางวัลรามอน แม็กไซไซ สาขาบริการชุมชน
รัฐบาล
  • วันที่ ๑๒ ? ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๔ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็น ทางการ
  • วันที่ ๓๑ สิงหาคม ถึงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๖ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา เข้าร่วมการประชุม General Assembly of the Association of Asian Parliaments for Peace ครั้งที่ ๔
  • วันที่ ๗ ? ๘ กันยายน ๒๕๔๖ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนตามคำเชิญ ของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง ?Thaksinomics? ต่อ Philippine Chamber of Commerce and Industry (PCCI) และ Philippine-Thailand Business Council (PTBC) และเพื่อร่วมในพิธีส่งมอบเครื่องบินโจมตีแบบ OV-๑๐ ซึ่งกองทัพอากาศไทยปลดประจำการแล้วให้แก่กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ตามคำขอของฟิลิปปินส์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์
  • วันที่ ๓๐ ? ๓๑ มกราคม ๒๕๔๗ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือของเอเชียตะวันออก-ละติน อเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation ? FEALAC)
  • วันที่ ๒๙ มิถุนายน ถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์) เข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย
  • วันที่ ๑๐ - ๑๒ เมษายน ๒๕๔๘ นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ที่เมืองเซบูและเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ - วันที่ ๒๖ - ๒๘ มกราคม ๒๕๔๙ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดสำนักงานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ Centrist Democrat International และกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม Global Christian Muslim and Interfaith Dialogue
  • วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็นทางการ
  • วันที่ ๑๐ ? ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อาเซียน ที่เมืองเซบู
  • วันที่ ๑๓-๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ และการประชุมสุดยอดอื่นๆ ณ เมืองเซบู
  • วันที่ ๒-๓ สิงหาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ

๓.๒ ฝ่ายฟิลิปปินส์

  • วันที่ ๑๘ ? ๒๒ เมษายน ๒๕๔๔ นายริซาลลิโน นาวาร์โร ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย หารือข้อราชการกับบุคคลสำคัญในภาครัฐและภาคเอกชนของไทย
  • วันที่ ๗ ? ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๔ นายโฮเซ เด เวเนเชีย จูเนียร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม International Leadership Seminar ซึ่งจัดโดย Inter-Religious and International Federation for World Peace และเมื่อวันที่ ๒ ? ๕ กันยายน ๒๕๔๔ เพื่อเข้าร่วมประชุม ASEAN Inter-Parliamentary ครั้งที่ ๒๒
  • วันที่ ๗ ? ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล และเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนและผู้นำอาเซียน-จีนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS ที่กรุงเทพฯ
  • วันที่ ๒๑ ? ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๖ นายบลาส เอฟ อ๊อบ-เล่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศฟิลิปปินส์ เข้าร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue ที่จังหวัดเชียงใหม่
  • วันที่ ๒๐ ? ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ที่กรุงเทพฯ
  • วันที่ ๒๘ ตุลาคม ถึงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ นายโรมูโล เอล เนริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนสังคมและเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อติดตามผลการเยือนฟิลิปปินส์ของนายกรัฐมนตรี และศึกษานโยบายและโครงการเศรษฐกิจและสังคมของไทย
  • วันที่ ๔-๕ มีนาคม ๒๕๔๘ นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศฟิลิปปินส์ เยือนอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ในฐานะแขกของกระทรวง การต่างประเทศ - วันที่ ๑๐-๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เยือนเพื่อร่วมการประชุม The International Association of University Presidents (IAUP) ครั้งที่ ๑๔
  • วันที่ ๑๒ ? ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องกฎบัตรอาเซียน ครั้งที่ ๒ ที่กรุงเทพฯ - วันที่ ๑๖ และ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดี ฟิลิปปินส์แวะพักที่ห้องรับรองพิเศษ สนามบินดอนเมือง ก่อนและหลังการเยือนลิเบียอย่างเป็นทางการ โดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้การต้อนรับและหารือตามลำดับ
  • วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศฟิลิปปินส์ แวะพักที่ห้องรับรองพิเศษ สนามบินดอนเมือง หลังการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ก่อนเดินทางกลับฟิลิปปินส์ โดยได้หารือกับนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ
  • วันที่ ๒๔-๒๗ มีนาคม ๒๕๕๐ นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย -ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔

เวบไซต์หน่วยงานฟิลิปปินส์อื่น ๆ (LINKS)

 

มูลค่าการค้าระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์

สรุปการค้าระหว่างประเทศ (ไทย-ฟิลิปปินส์) ในเดือน ม.ค.-ก.ย. 60 เทียบกับเดือน ม.ค.-ก.ย. 59

การค้าระหว่าง

ไทย-ฟิลิปปินส์

มูลค่า 

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อัตราขยายตัว

(ร้อยละ)

สัดส่วนต่อการค้าโลก

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.ย. 59

ม.ค.-ก.ย.60

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

มูลค่าการค้ารวม

6,765.96

7,408.13

12.47

9.49

2.23

2.19

ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์

4,771.77

5,014.78

12.89

5.09

2.97

2.86

ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์

1,994.19

2,393.35

11.47

20.02

1.40

1.47

ดุลการค้า

2,777.58

2,621.44

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 มูลค่าการค้ารวมของไทยกับฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 7,408.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.49 จากช่วงเดียวกันของปี 2559 (มูลค่า 6,765.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.19 ของการค้าทั่วโลก การส่งออกจากไทยไปยังฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 มีมูลค่า 5,014.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.09 จากช่วงเดียวกันของปี 2559 (มูลค่า 4,771.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.86 ของการส่งออกไปทั่วโลก ขณะเดียวกัน ไทยมีการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 เป็นมูลค่า 2,393.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.02 จากช่วงเดียวกันของปี 2559 (มูลค่านำเข้า 1,994.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.47 ของการนำเข้าจากทั่วโลก

สรุปการค้าระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 ปรากฏว่าไทยได้เปรียบดุลการค้าฟิลิปปินส์ เป็นมูลค่า 2,621.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  

 การส่งออกสินค้าของไทยไปยังฟิลิปปินส์

การส่งออกสินค้าของไทยไปยังฟิลิปปินส์ ช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 เทียบกับช่วง ม.ค.-ก.ย. 2559

อันดับ

รายการสินค้า

มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อัตราขยายตัว

(ร้อยละ)

สัดส่วน

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

1

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

1,725.8

1,736.7

20.81

0.63

36.17

34.63

2

แผงวงจรไฟฟ้า

302.3

327.2

-4.44

8.24

6.34

6.52

3

เม็ดพลาสติก

184.3

186.8

6.54

1.36

3.86

3.72

4

เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง

162.2

183.9

24.49

13.39

3.40

3.67

5

เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว

170.0

174.3

14.97

2.55

3.56

3.48

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

เมื่อพิจารณาการส่งออกสินค้าของไทยไปยังฟิลิปปินส์ ช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 พบว่า ไทยส่งออกสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มายังฟิลิปปินส์เป็นมูลค่าสูงสุด คือ 1,736.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.63 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2559  รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้าและเม็ดพลาสติก

อย่างไรก็ตาม พบว่าในช่วง ม.ค.-ก.ย. 2560 สินค้าที่มีอัตราการขยายตัวในการส่งออกอย่างมากได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งมีมูลค่า 141.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวร้อยละ 66.18 ข้าวซึ่งมีมูลค่า 90.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวร้อยละ 52.43 และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบซึ่งมีมูลค่า 76.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวร้อยละ 24.91

การนำเข้าของไทยจากฟิลิปปินส์

 การนำเข้าของไทยจากฟิลิปปินส์ ช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 เทียบกับช่วง ม.ค.-ก.ย. 2559

อันดับ

รายการสินค้า

มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อัตราขยายตัว

(ร้อยละ)

สัดส่วน

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

ม.ค.-ก.ย.59

ม.ค.-ก.ย.60

1

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์/ส่วนประกอบ

383.6

434.3

38.84

13.20

19.24

18.15

2

แผงวงจรไฟฟ้า

350.3

380.5

6.85

8.64

17.56

15.90

3

สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์

179.5

334.1

160.98

86.11

9.00

13.96

4

เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

220.7

285.6

-1.73

29.41

11.07

11.93

5

ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

241.2

248.5

-9.41

3.03

12.10

10.38

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

 

เมื่อพิจารณาการนำเข้าของไทยจากฟิลิปปินส์ ช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2560 พบว่า ไทยนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นหลัก (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.15) มีมูลค่านำเข้า 434.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.20 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว รองลงมา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า, สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์, เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา/ อีเมลล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Facebook: www.facebook.com/thaitradecentermanila

 

2,033.3

1. ดรรชนีสำคัญทางเศรษฐกิจ

ที่มา : www.eiu.com , www.gov.ph และ Thailand’s Economic Fact Sheet (January 2011)

2. การจัดการจัดลำดับโดยสถาบันระหว่างประเทศ

3. ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป

3.1 อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ (GDP Growth) ในปี 2553 อยู่ที่ 7.3 % สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2519 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2552 และการใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อมิถุนายน การเพิ่มขึ้นของเงินโอนจากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ (OFWs) การขยายตัวของภาคการส่งออก การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ (5.3%) การเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุน (25.6%) และเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น

อนึ่ง คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในปี 2554 จะชะลอตัวลงอยู่ที่ 5.4% เนื่องจากการยุติการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ซึ่งส่งผลให้การลงทุนและภาคการส่งออกของฟิลิปปินส์หดตัวลง ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ฟป. ประกาศว่า จะพยายามรักษา GDP Growth ของฟิลิปปินส์ให้อยู่ในระดับ 7 -8 % ในช่วงระยะกลาง (medium term) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งจะประกาศใช้ในเร็วๆ นี้

3.2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและรายได้ประชาชาติต่อหัว

ปี 2553 GDP ของฟิลิปปินส์มีมูลค่า 199.9 พันล้าน USD (ไทย 316.7 พันล้าน USD) และรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปี (GDP per head) 3,489 USD (ไทย 4,705 USD) ทั้งนี้ คาดว่าในปี 54  GDP ของฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้นเป็น  225.7 พันล้าน USD และ GDP per head จะเพิ่มเป็น 3,660 USD ต่อปี

3.3 สภาวะการณ์การจ้างงานในฟิลิปปินส์

ในปี 2553 การว่างงานของฟิลิปปินส์ อยู่ในอัตราร้อยละ 7.1 (ประมาณ 2.8 ล้านตำแหน่ง) น้อยลงจากปี 2552 โดยเขตเมืองหลวง (National Capital Region: NCR) มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่สุดในประเทศ ร้อยละ 10.9 สาเหตุสำคัญ ได้แก่ การปิดกิจการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ จากผลกระทบของวิกฤตการเงินเมื่อปี 2552

นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังประสบปัญหาการทำงานต่ำกว่าระดับความสามารถ (underemployment rate) ในอัตราสูงที่ร้อยละ 19.6 (ประมาณ 6.7 ล้านตำแหน่ง) สูงขึ้นกว่าปี 2552

4. โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

ภาคบริการ มีสัดส่วนต่อ GDP ใหญ่ที่สุด 54.8 % รองลงมา ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม 31.4 % และภาคเกษตรกรรม (รวมประมงและป่าไม้) 13.7 %

  • ธุรกิจบริการที่สำคัญ ได้แก่ กิจการค้าปลีกและค้าส่ง บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การขนส่ง การท่องเที่ยวและโรงแรม อนึ่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจบริการได้ขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจการธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ (Business Process Outsourcing: BPO) อาทิ การให้บริการ Call Centre และ Digital Content
  • ภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารแปรรูป
  • ภาคเกษตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การประมง การเพาะปลูกมะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วยหอม สับปะรด และมะม่วง

5. นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ

5.1 แก้ไขภาวะขาดดุลงบประมาณ

ซึ่งเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากรัฐบาลชุดก่อน โดยเน้นการสร้าง วินัยทางการคลังโดยใช้วิธีการบริหารงบประมาณแบบสมดุล (Zero – Budgeting Policy) ในการนี้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้ประกาศในระหว่างการแถลงนโยบายในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง (State of the Nation Union) เมื่อ กรกฎาคม 2553 ว่าจะเสนอร่างกฎหมายความรับผิดชอบทางการคลัง (Fiscal Responsibility Bill) เพื่อใช้เป็นกลไกในการควบคุมการพิจารณาอนุมัติ เฉพาะโครงการที่สามารถระบุแหล่งที่มาของงบประมาณได้เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

อนึ่ง รัฐบาลตั้งเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณไว้ 2% ใน 2556

5.2 ฟื้นฟูสถานะทางคลัง

โดยการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีและรายได้เข้ารัฐ การแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง/ การลักลอบนำเข้าสินค้าอย่างผิดกฎหมาย (กระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ประเมินว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์สูญเสียรายได้จากการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีประมาณ 250 พันล้านเปโซ ต่อปี) การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และการออกพันธบัตรสกุลเงินเปโซ

5.3 สนับสนุนการมีส่วนร่วมการเป็นหุ้นส่วนของภาคเอกชน ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public – Private Partnership: PPP)

เพื่อระดมทุนในการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐาน โดยประธานาธิบดี Aquino III ได้ประกาศจะดำเนินโครงการ PPP ให้ได้ 70-100 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 740 พันล้าน เปโซ (16.8 พันล้าน USD) ก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งใน 2559

อนึ่ง รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้จัดตั้ง PPP Center ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ ภายใต้องค์การเศรษฐกิจ และการพัฒนาแห่งฟิลิปปินส์ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานนโยบาย ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน

อนึ่ง เมื่อ พฤศจิกายน 2552 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ประกาศแผนจะเปิดประมูลโครงการ PPP ในปี 2554 จำนวน 10 โครงการ ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับการก่อสร้างถนน/ทางพิเศษ 2 โครงการ โครงการเกี่ยวกับการสร้าง/ปรับปรุง/บริหาร ท่าอากาศยาน 4 โครงการ และโครงการเกี่ยวกับการก่อสร้างส่วนขยายของรถไฟฟ้า 2 โครงการ

ในส่วนของการระดมเงินทุน นอกจากแผนการออกพันธบัตร เพื่อใช้ในโครงการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานระยะเวลา 20 และ 25 ปี และการร่วมมือกับธนาคารในกำกับของรัฐ ในการสนับสนุนค่าชดเชยในการเวนคืน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังแสวงโอกาสในการหาเงินทุนจากต่างประเทศจาก World Bank และ ADB (ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษารูปแบบการดำเนินโครงการร่วมกัน) และได้ประชาสัมพันธ์โครงการ PPP ให้นักลงทุนต่างประเทศในระหว่างการเยือนต่างประเทศ อาทิ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้หยิบยกเรื่อง PPP ขึ้นหารือกับประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในระหว่างการเยือนเกาหลีใต้เมื่อมกราคม 2554

5.4 สร้างเสริมบรรยากาศในการลงทุนในฟิลิปปินส์

โดยการอำนวยความสะดวก และลดขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ให้มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยเมื่อกันยายน 2553 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ริเริ่มใช้ระบบ Electronic Business Name Registration System (eBNRS) ในการขออนุญาตประกอบธุรกิจ/จัดตั้งบริษัทโดยตั้งเป้าหมายจะลดระยะเวลาในการขออนุญาตลงจาก 45 – 60 วัน เหลือ 1 สัปดาห์ โดยระบบดังกล่าวเป็นการปูทางไปสู่การใช้ National Business Registry Database ซึ่งเป็นฐานข้อมูลการจดทะเบียนบริษัทร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของฟิลิปปินส์ อาทิ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม คณะกรรมการหลักทรัพย์ และหน่วยงานท้องถิ่น

นอกจากนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันยังเน้นการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ ในด้านเสถียรภาพของรัฐบาล และความต่อเนื่องของนโยบาย ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส และตรวจสอบได้

6. ภาคการเงินและการคลัง

6.1 สถานะทางการคลังปี 2553

ในปี 2553 งบประมาณของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ขาดดุล 298.5 พันล้านเปโซ (คิดเป็น 3.9% ของ GDP) ลดลงจากปี 2552 โดยปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของรายได้ของรัฐจากการเก็บภาษี และอากร และการกวาดล้างผู้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีและอากร โดยการลดลงของงบประมาณขาดดุลในครั้งนี้ส่งผลให้ เมื่อ พฤศจิกายน 2553 สถาบันการจัดลำดับความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจ Standard and Poor’s ปรับยกระดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนในฟิลิปปินส์เป็น BB (20 จุดต่ำกว่า investment grade) ซึ่งถือเป็นลำดับที่สูงสุดในรอบ 7 ปี

อนึ่ง รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Aquino III ประกาศจะแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณโดยใช้ (1) นโยบายงบประมาณสมดุล (Zero-budgeting Policy) โดยตั้งเป้าจะลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ 2 % ภายในปี 2556 และ (2) กวาดล้างผู้หลีกเลี่ยงภาษี เพื่อเพิ่มรายได้เข้ารัฐอย่างมีประสิทธิภาพ

6.2 แนวโน้มสถานะทางการคลังปี 2554

เมื่อธันวาคม 2553 รัฐสภาฟิลิปปินส์ได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2554 (ม.ค. – ธ.ค. 2554) ของฟิลิปปินส์มูลค่ารวม 1.6 ล้านล้านเปโซ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2542 ที่รัฐสภาสามารถผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ได้ก่อนการเริ่มปีงบประมาณ

อนึ่ง รัฐบาลฟิลิปปินส์ตั้งเป้าหมายว่างบประมาณในปี 2554 จะขาดดุล 290 พันล้านเปโซ หรือเท่ากับ 3.2 % ของ GDP

6.3 ดุลบัญชีเดินสะพัด

ในปี 2553 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจำนวน 11 พันล้าน USD ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2553 เพิ่มขึ้น ได้แก่ การขยายตัวของภาคการส่งออก และภาคบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ (Business Process Outsourcing : BPO) และปริมาณเงินโอนจาก OFWs ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ช่วยรักษาดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในเชิงบวก

อนึ่ง คาดว่าปี 2554 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเหลือ 9.8 พันล้าน USD เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

6.4 อัตราเงินเฟ้อ

ในปี 2553 เงินเฟ้ออยู่ในอัตรา 3.8% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าในตลาดโลก และความเสียหายต่อผลิตผลทางการเกษตรจากพายุไต้ฝุ่น และภัยแล้งจากปรากฏการณ์ El Nino

อนึ่ง คาดว่าในปี 2554 อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์จะคงตัว และเพิ่มขึ้นในปี 2555 เนื่องจากปริมาณเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศในช่วงปลายปี 2553

6.5 อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลเปโซ

ค่าเงินสกุลเปโซในช่วงต้นปี 2553 มีความผันผวนเนื่องจากผลกระทบของวิกฤตหนี้ในยุโรป อย่างไรก็ดี ในช่วง 4 เดือนสุดท้าย 2553 ค่าเงินสกุลเปโซแข็งค่าขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลให้มีการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย กอปรกับการเพิ่มขึ้นของเงินโอนจากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ (OFWs)ในช่วงปลายปี

ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์เงินไหลเข้าประเทศในช่วง มกราคม – กันยายน สูงขึ้น 10 เท่า จากช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเปโซแข็งตัวสูงสุดในรอบ 2 ปี อยู่ที่ 43.16 เปโซต่อ USD และเพื่อลดแรงกดดันที่มีต่อสกุลเงินเปโซ เมื่อพฤศจิกายน 2553 ธนาคารแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Banko Sentral ng Pilipinas: BSP) ได้ประกาศผ่อนคลายระเบียบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการไหลออกของเงินสกุลต่างชาติ อาทิ ปรับเพิ่มเพดานจำนวนเงินที่อนุญาตให้โอนออกนอกประเทศสำหรับ  residence และ non residence และผ่อนคลายกฎระเบียบและขั้นตอนในการลงทุนออกนอกประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ และปัญหาเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้น

6.6 นโยบายทางการเงินของธนาคารแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Banko Sentral Pilipinas: BSP)

BSP มิได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นับตั้งแต่การปรับอัตราดอกเบี้ย overnight borrowing เมื่อธันวาคม 2551 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เมื่อกรกฎาคม 2552 เพื่อป้องกันแรงกดดัน ที่อาจมีต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเปโซ และผลกระทบที่อาจมีต่อภาคการส่งออก และเนื่องจากเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2552  อนึ่ง BSP อาจจะยกเลิกมาตรการทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งได้บังคับใช้เมื่อปี 2552 อาทิ การลดปริมาณเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นด้วย

6.7 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์  (Philippine Stock Exchange: PSE) ณ กันยายน 2553 เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 34.3 % อยู่ที่ 4,047 จุด ซึ่งทำให้ PSE เป็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่มีสมรรถนะดีที่สุดในเอเชียในช่วงระหว่าง มกราคม – กันยายน 2553 โดยปัจจัยสำคัญได้แก่ ตัวเลขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ที่ปรับตัวขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อนึ่ง เมื่อ 26 กรกฎาคม 2553 ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ได้เปลี่ยนระบบซื้อขายหลักทรัพย์จากระบบ MakTrade system ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2533 เป็นระบบ New Trading System (NTS) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อ-ขาย มากยิ่งขึ้น

6.8 เงินโอนจาก Overseas Filipino Workers (OFWs)

เงินโอนสุทธิจาก OFWs ในปี 2553 มูลค่ารวม 18.7 พันล้าน USD (เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 8.16 ) โดยแบ่งเป็นเงินโอนจาก OFWs ภาคพื้นดิน (landbase) 14.9 พันล้าน USD และ OFWs ภาคพื้นทะเล (Seabase) 3.8 พันล้าน USD โดยภูมิภาคที่มีเงินโอนจาก OFWs สูงสุด ได้แก่ ภูมิภาคอเมริกา (9.9 พันล้าน USD) ภูมิภาคยุโรป (3.2 พันล้าน USD) ภูมิภาคเอเชีย (2.4 พันล้าน USD) และประเทศที่มีเงินโอนจาก OFWs สูงสุด ได้แก่ สหรัฐฯ (7.9 พันล้าน USD) ในส่วนเงินโอนจาก OFWs จากประเทศไทยในปี 2553 มูลค่า 4.4 ล้าน USD (เพิ่มขึ้นจากปี 2552  ร้อยละ 7.3)

อนึ่ง เงินโอนจาก OFWs เป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานต่อการจับจ่ายใช้สอย และการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์อย่างมาก และยังเป็นปัจจัย ที่ช่วยรักษาดุลบัญชีเดินสะพัดของฟิลิปปินส์ให้อยู่ในแดนบวก

*********************

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2554