Menu

ความเสี่ยงในภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ประเทศฟิลิปปินส์

ประเด็น

ข้อสังเกต

1. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ - ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยหมู่เกาะกว่า
    7,000 เกาะ และมีเกาะที่สำคัญ ๆ คือ (1) เกาะลูซอน เป็นที่ตั้งของกรุงมะนิลา (เมืองหลวง)
    (2) เกาะวิซายาส (3) เกาะมินดาเนา ไม่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศอื่นทางบก ดังนั้น
    การเคลื่อนย้ายอพยพคนไทยออกจากฟิลิปปินส์ไปประเทศอื่นทางบก ไม่สามารถกระทำได้
    - ในกรณีอพยพ เส้นทางคมนาคมหลักระหว่างประเทศที่สามารถดำเนินการได้
    คือทางอากาศ และเรือ
    - หน่วยงานราชการในฟิลิปปินส์ประกอบด้วย สถานเอกอัครราชทูต ฯ สำนักงานการบินไทย
    สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ
    สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ และบริษัทเอกชน เช่น CP SCG ปตท.
    ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ
2. สภาพเสี่ยงภัยตามธรรมชาติ - ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติหลากหลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพายุไต้ฝุ่น (ช่วงฤดูฝน ปกติระหว่างมิถุนายน-ตุลาคม
บางปีนานถึงเดือนธันวาคม) มีพายุไต้ฝุ่นประมาณปีละ 20 ลูก แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ
โคลน/ดินถล่ม น้ำท่วมไหลหลาก/ฉับพลัน และสึนามิ
- ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณ Ring of Fireในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก
จึงมีความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจากแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ
ระเบิด/ปะทุ เป็นระยะ ๆ
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในอดีต - พายุไต้ฝุ่น พัดเข้าฟิลิปปินส์ปีละประมาณ 20 ลูก โดยพายุไต้ฝุ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่สำคัญ ได้แก่
ปี 2549 พายุ Milenyo และ Reming
ปี 2551 พายุไต้ฝุ่น Frank
ปี 2552 พายุไต้ฝุ่น Ondoy และ Pepeng
ปี 2553 พายุ ไต้ฝุ่น Juan
ปี 2554 พายุไต้ฝุ่น Sendong
ปี 2555 พายุไต้ฝุ่น Pablo
ปี 2556 พายุไต้ฝุ่น Odette และ Yolanda
ปี 2557 พายุไต้ฝุ่น Hagupit
- ภูเขาไฟระเบิด / ปะทุ
ปี 2534 ภูเขาไฟ Pinatobo
ปี 2536 ภูเขาไฟ Mayon
ปี 2556 ภูเขาไฟ Mayon
- แผ่นดินไหวที่สำคัญ
ปี 2511 ทางตะวันออกของเกาะลูซอน ระดับความรุนแรง 7.3 ริกเตอร์
ปี 2519 บริเวณเกาะมินดาเนา ระดับความรุนแรง 7.9 ริกเตอร์
ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ และ aftershock ตามมาประมาณ 40 ครั้ง
ปี 2553 Moro Gulf ระดับความรุนแรง 7.3 ริกเตอร์
ปี 2555 Guian, Eastern Samar ระดับความรุนแรง 7.6 ริกเตอร์
ปี 2556 Bohol ระดับความรุนแรง 7.2 ริกเตอร์
4. มาตรการและรูปแบบการเตือนภัยพิบัติ 4.1 การประกาศเตือนภัยแก่สาธารณชนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
และวิธีการป้องกันที่ทางการท้องถิ่นกำหนด - พายุไต้ฝุ่น      แบ่งออกเป็น   5 ระดับ โดยระดับที่   5 รุนแรงที่สุด
- ภูเขาไฟ          แบ่งออกเป็น   5 ระดับ โดยระดับที่   5 รุนแรงที่สุด
- แผ่นดินไหว    แบ่งออกเป็น 10 ระดับ โดยระดับที่ 10 รุนแรงที่สุด
- สึนามิ              แบ่งออกเป็น   3 ระดับ โดยระดับที่   3 รุนแรงที่สุด
4.2 หน่วยงานหลักของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการเตือนภัย
- NDRRMC (National Disaster Risk Reduction and Management Council)
ศูนย์ประสานงานเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือ
คุ้มครอง และการอพยพ รวมทั้งบังคับใช้ระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในยามฉุกเฉิน
- PAGASA (Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services
Administration) ทำหน้าที่กำกับดูแล เฝ้าติดตาม และประกาศเตือนภัยพายุไต้ฝุ่น
น้ำท่วม ดินถล่มและประสานงานกับ NDRRMC
- PHILVOCS (Philippine Institute of Valcanology and Seismology) ทำหน้าที่
ออกประกาศเตือนภัยแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดแก่สาธารณชน และประสานงาน
กับ NDRRMC 
5. ข้อเตือนภัยต่อคนไทยในพื้นที่ 1. เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดในการเตือนภัยระดับความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ
จาก NDRRMC PAGASA และ PHILVOCS
2. ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ พร้อมทั้งมาตรการอพยพประชาชน
ออกจากพื้นที่จากหน่วยงานรัฐบาลฟิลิปปินส์ จาก NDRRMC PAGASA และ PHILVOCS
3. ติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาโดยด่วนที่สุด และเตรียมหนังสือเดินทาง
รวมทั้งเอกสารสำคัญประจำตัว
6. ข้อเตือนภัยต่อคนไทยที่จะเดินทางไป - ผู้เดินทางควรสอบถามข้อมูลในเรื่องการพยากรณ์อากาศและสภาพภูมิอากาศ
ประเทศฟิลิปปินส์ หากประสงค์จะเดินทางมาฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-
ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและมีพายุไต้ฝุ่น


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา


13 พฤษภาคม 2559