Menu

ฟิลิปปินส์ ถือเป็นประเทศที่ประสบภัยธรรมชาติในรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ภูเขาไฟปะทุ แผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น ลมพายุ? น้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม ภัยธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้ ในบางครั้งนำมาซึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรง และก่อให้เกิดความเสียหายมาก กลไกหนึ่งที่ทางการฟิลิปปินส์ได้มีมาตรการป้องกัน และการเตรียมการอย่างเป็น ระบบ ก็คือ การให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว/ระมัดระวังตัวจากภัยพิบัติ และการเตือนภัยล่วงหน้าแก่สาธารณชน

ด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้สังคมฟิลิปปินส์ต้องมีเรื่องของการรับฟังการพยากรณ์อากาศ การเฝ้าระวัง/ติดตามสถานการณ์ของภัยธรรมชาติ และการรับฟังข่าวสารจากรัฐบาลในมาตรการป้องกันภัย/บรรเทาสาธารณภัยต่างๆ? อยู่ในการดำรงชีวิตประจำอย่างสม่ำเสมอ แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตัวอย่างหนึ่ง ที่น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพวกเราคนไทย ที่อาจไม่ค่อยประสบกับเหตุการณ์จริง หรือมีประสบการณ์มากนักจากกับภัยพิบัติจากภูเขาไฟ ก็คือ การได้เรียนรู้ข้อแนะนำของกาชาดฟิลิปปินส์ ในการปฏิบัติตัวทั้งในยามก่อน ระหว่างและหลังภูเขาไฟปะทุ

๑. ก่อนการปะทุ อาทิ ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ซึ่งอาจได้รับความอันตรายจากภัยดินโคลนถล่ม ไม่ให้ตัดต้นไม้ เนื่องจากต้นไม้จะเป็นแนวป้องกันธรรมชาติในกรณีที่มีการไหลของลาวา จัดหา/เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือปฐมพยาบาล เตรียมพร้อมยานพาหนะในกรณีอพยพเคลื่อนย้ายอย่างฉุกเฉิน? และรับฟังข่าวสารอย่างใกล้ชิดจาก Phivolcs (the Philippine? Institute of Volcanology and Seismology)

๒. ระหว่างการปะทุ อาทิ เตรียมหน้ากากอนามัย/ผ้า/ผ้าเปียกปิดจมูก ระวังโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับปอดจากการสูดอากาศหายใจ ให้อยู่ในที่พักอาศัยหรือศูนย์พักพิง หยุดขับรถยนต์ ในระหว่างที่มีเถ้าถ่านภูเขาไฟถูกพ่นออกมาจากปล่องภูเขาไฟ เนื่องด้วยทัศนวิสัยที่จำกัดต่อการมองเห็น และให้อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเนื่องจากอาจเกิดภัยคลื่นยักษ์ (Tsunami)

๓. หลังการปะทุ อาทิ รับฟังมาตรการความปลอดภัยและเฝ้าระวังจากทางการ เช่น การอพยพกลับพื้นที่อาศัย

**************