Menu

ภัยธรรมชาติของฟิลิปปินส์ ที่เป็นรู้จัก และคุ้นเคยอย่างดีสำหรับพวกเราคนไทย ก็คือ พายุไต้ฝุ่น ซึ่งหากท่านดูพยากรณ์อากาศของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบแฟนประจำหรือดูบางครั้งบางคราว จะเห็นได้เสมอว่าในช่วงปีหนึ่งๆ นั้น ฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้าหลายๆ ลูก เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านเราแล้ว ประเทศไทยจะประสบกับภัยธรรมชาติจากพายุไต้ฝุ่นน้อยกว่ามากๆ

พายุบางลูกพัดจากฟิลิปปินส์ ผ่านทะเลจีนใต้เข้าเวียดนาม ผ่านลาว แล้วก็มาหมดแรงที่ประเทศไทยก็มี หรือบางลูกที่ฟิตแข็งแรง ก็ยังคงมีเรี่ยวแรงส่งผลต่อฝนตกหนักในบ้านเรา แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือบางลูกก็จะพัดจากฟิลิปปินส์ขึ้นเหนือไปทางไต้หวัน และต่อไปยังญี่ปุ่น ลูกใดที่พัดจากฟิลิปปินส์ขึ้นไปทางทิศเหนือ บ้านเราก็จะปลอดภัย

ด้วยความที่ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นปีหนึ่งคราวละหลายๆ ลูก (โดยเฉลี่ยประมาณ ๒๐ ลูกต่อปี ระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม) จึงทำให้การใช้ชีวิตประจำวัน และการดำรงชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เอง และชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยในฟิลิปปินส์หนี และหลีกเหลี่ยงไม่ได้ไปจากเรื่องการรับฟังข่าวพยากรณ์อากาศ

การเฝ้าระวังต่อการเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฟิลิปปินส์ (PAGASA? - the Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration) และการรับฟังมาตรการของทางการในการอพยพหนีภัยหรือไม่ ตลอดจนโรงเรียนจะเปิดเรียนหรือไม่ เนื่องจากความอันตรายของพายุ ลมพายุ สภาวะน้ำท่วมขัง และน้ำท่วมฉับพลันต่อความปลอดภัยของเด็กเล็ก ระดับอนุบาล นักเรียนและนักศึกษา

สำหรับพายุลูกใด ที่จะพัดผ่านเข้าสู่บริเวณพื้นที่ความรับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ (PAR - the Philippine Area of Responsibility) ฝ่ายฟิลิปปินส์จะตั้งชื่อ และเรียกพายุลูกนั้นเป็นภาษาท้องถิ่น โดยจะเริ่มต้นชื่อพายุลูกแรกของปีด้วยอักษร ?A?? ไล่ตามด้วย? B, C, D จนหมดหน้าพายุในช่วงสิ้นปีปฏิทิน ขณะเดียวกัน พายุชื่อ A ลูกเดียวกันนี้ ก็จะถูกตั้งชื่ออย่างทางการตามหลักสากลระหว่างประเทศ (International??? Code Name)? เท่ากับว่าพายุลูกหนึ่งจะมี ๒ ชื่อในเวลาเดียวกัน คือ ชื่อท้องถิ่นฟิลิปปินส์ และชื่อสากลระหว่างประเทศ

ซึ่งนักพยากรณ์อากาศตามสถานีโทรทัศน์จะรายงานชื่อพายุให้พวกเราฟังตามชื่อ International Code Name เป็นหลัก ดังตัวอย่างล่าสุดในช่วงกลาง เดือนตุลาคม ๒๕๕๓? ฟิลิปปินส์ได้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น ?Juan? (ชื่อท้องถิ่น) ขณะเดียวกัน พายุ Juan จะมีชื่อเรียกตาม International Code Name ว่า ?Megi?

**************