Menu

จากบทความตอนที่ ๑ เรื่องการเตรียมตัวจากภัยธรรมชาติจากภูเขาไฟ และตอนที่ ๒ ที่ได้เล่าถึง ภัยธรรมชาติจากพายุไต้ฝุ่นของฟิลิปปินส์ ซึ่งจะส่งผลความเสียหายตั้งแต่การเสียชีวิตของผู้คน คนสูญหาย ทรัพย์สิน บ้านเรือน ที่ดินเพาะปลูก และผลิตผลทางการเกษตรถูกทำลาย ตลอดจนภัยพิบัติอื่นๆ ตามมา เช่น ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำท่วมขัง ลมพายุที่พัดโค่นต้นไม้ และบ้านเรือนเสียหาย และโรคภัยต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก ฉี่หนู น้ำกัดเท้า เป็นต้น เราจะเตรียมตัวอย่างไรให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติเหล่านี้

บทความในตอนนี้ จะขอนำเกร็ดของกาชาดฟิลิปปินส์ ในเรื่องการเตรียมตัวในเชิงป้องกันตัวล่วงหน้าก่อนพายุเข้า การรับมือในระหว่างที่ประสบภัย และการช่วยเหลือตัวเองหลังจากที่พายุไต้ฝุ่นพัดผ่านไปแล้ว

๑. ก่อนพายุมา : เขียน/จำ/หาหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานต่างๆ ติดตัวไว้ เตรียมสำรองสิ่งของที่จำเป็นตั้งแต่ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย น้ำดื่ม อาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน ที่เปิดกระป๋อง ผ้าอนามัย? วิทยุ เสื้อผ้า/เสื้อกันฝน/รองเท้าบู๊ทยาง ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาล (อุปกรณ์ดำรงชีพอย่างน้อย ๗๒ ชม.) สำรวจ และซ่อมแซมบ้านเรือน ในส่วนที่ผุพัง และเปราะบางที่อาจเป็นอันตราย เช่น หลังคาบ้าน เสา กระจกหน้าต่างประตูรวมทั้งต้นไม้ใหญ่ รีบเก็บผลผลิตทางการเกษตรล่วงหน้า ย้ายสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์เชิงเศรษฐกิจ ไปที่ปลอดภัย? เก็บเรือให้ปลอดภัย ตรวจสอบการพยากรณ์อากาศ และรับฟังการเตือนภัยอย่างใกล้ชิด ตรวจตราระบบไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม น้ำประปาให้เรียบร้อยปลอดภัย และพร้อมปิดการทำงานระบบของน้ำไฟก๊าซได้ทันที เก็บรักษา/ย้ายทรัพย์สินที่มีค่าออกจากบ้านเรือน/เคหะสถาน หนีขึ้นที่สูงและย้ายยานพาหนะขึ้นที่สูงเพื่อเลี่ยงภัยจากน้ำท่วม เตรียมพร้อมเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ เตรียมชาร์จแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ เตรียมอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและเด็กเล็ก รู้จัก และทำความคุ้นเคยกับเส้นทางหนีภัย และศูนย์พักพิงชั่วคราว

๒. ระหว่างพายุเข้า : ตื่นตัวตลอดอย่าหลับเพราะอาจประสบภัยเสียชีวิตได้จากภัยดินโคลนถล่ม อย่างไม่คาดคิด เปิดวิทยุเพื่อรับฟังข่าวสาร การเตือนภัย และการอพยพ? ปิดระบบไฟฟ้า น้ำประปา และก๊าซหุงต้มรวมทั้งถอดปลั๊กไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ? ห้ามว่ายน้ำหรือเดินในบริเวณที่มีน้ำไหลเชี่ยว และให้รีบหาพื้นที่สูงเพื่อความปลอดภัย ห้ามเสี่ยงเดินข้ามบริเวณน้ำท่วม พยายามหาจุด/แหล่ง/ผู้คนที่ติดต่อสื่อสาร ได้ยามฉุกเฉิน หูไวตาไวต่อสิ่งปรักหักพัง หินหรือดินโคลนที่อาจตกหรือถล่มใส่ตัว หากท่านติดอยู่ในที่คับขัน เช่น ต้นไม้ หลังคาของบ้านอาคารที่อยู่เหนือระดับน้ำท่วม และปลอดภัยจากลมพายุ ขอให้อยู่กับที่โดยรอการให้????????? ความช่วยเหลือ และการกู้ภัย หรือรีบติดต่อแจ้งหน่วยกู้ภัย เพื่อขอรับความช่วยเหลือหากวิกฤติฉุกเฉิน หากท่านขับรถยนต์ และเกิดเหตุรถถูกน้ำพัดพาและรถจมน้ำ อย่าตื่นตระหนกโดยขอให้ตั้ง/รวบรวมสติ สูดอากาศ กลั้นหายใจ และให้รีบหาทางออกจากรถ และว่ายน้ำขึ้นสู่ผิวน้ำ

๓.? หลังพายุพัดผ่านไปแล้ว : เปิดวิทยุเพื่อรับฟังข่าวสาร และสถานการณ์ของภัย เดินทางกลับบ้านได้ก็ต่อเมื่อ ทางการสั่งการให้กลับบ้านได้ ให้ระมัดระวังวัตถุ/สิ่งของอันตราย เช่น ของมีคม ที่อาจตกหล่นอยู่ได้ในบริเวณน้ำท่วมขัง หากบ้านเรือนถูกน้ำท่วม ขอให้ตรวจตรา และมั่นใจก่อนเข้าบ้านว่าสภาพบ้านเรือนปลอดภัย และโครงสร้างบ้านแข็งแรง ระมัดระวังสัตว์มีพิษ เช่น งู ที่อาจเข้ามาหลบในบ้าน รีบรายงานทางการ เรื่องระบบไฟฟ้าของบ้านที่ชำรุดเสียหาย ห้ามเปิดไฟหรือเสียบปลั๊กไฟฟ้า ในขณะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกให้ใส่ถุงมือยาง (rubber gloves) และรองเท้ายาง (rubber sole shoes) ขณะทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เปรอะเปื้อนสกปรกจากดินโคลน ระมัดระวังโรคที่มาจากน้ำ ระมัดระวังตัวจากการถูกยุงกัด ตรวจตราดูให้ถี่ถ้วนอย่าให้มีน้ำขังในอุปกรณ์ภาชนะต่างๆ เช่น ยางรถยนต์ หม้อถังเพราะจะเป็นจุดเพาะยุงได้ ให้อยู่ห่างไกลจากพื้นที่ที่ถูกดินโคลนถล่ม

เป็นที่สังเกตได้ว่า กาชาดฟิลิปปินส์ให้ข้อแนะนำ และข้อห้ามอะไรที่ไม่ควรทำ เพื่อเป็นความรู้สาธารณประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมของตนเอง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้ การรู้จักกับสภาพธรรมชาติ ของภัยธรรมชาตินั้นๆ เช่น ลมพายุ? น้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม การหาช่องทางติดต่อสื่อสารกับทางการ และเพื่อนฝูงเพื่อขอรับความช่วยเหลือ การหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่เสี่ยงภัยต่อชีวิต ปลอดภัยไว้ก่อนการรับฟังและเชื่อฟังมาตรการของทางการในการเตือนภัย อาทิ การสั่งการให้มีการอพยพหนีภัยและการสั่งการ ให้กลับบ้านได้ การรู้จักป้องกันตัวจากโรคภัย รวมทั้ง การตั้งสติสมาธิให้ได้ในยามที่เผชิญกับวิกฤติ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

สถานทูตไทยหวังว่า เกร็ดข้อมูลจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านในการมีความรู้ทั่วไปติดตัว การเผยแพร่ข้อมูล ให้คนอื่น/เพื่อนฝูงทราบต่อๆ ไป การศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อใช้ประโยชน์กับบ้านเราเพื่อป้องกันตัวล่วงหน้า บรรเทาทุกข์ และลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อตัวเองและชุมชนให้รุนแรงน้อยลง เพราะปัจจุบันนี้? ภัยธรรมชาติได้เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศบ่อยครั้งมากขึ้น หลากหลายรูปแบบมากขึ้น และบางครั้งก็มีระดับความรุนแรงมากกว่าจากอดีตที่ผ่านมา